หยั่งสมุทร
ชื่ออื่นๆ : เครือกิ่วคา เครือข้าวนึ่ง (เชียงใหม่) แตงเถื่อน (เชียงราย) มะคะแนง มะจินดา ส้มจินดา ส้มจี ส้มป่อง ส้มมะแง่ง ส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หยั่งสมุทร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amalocalyx microlobus , Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire
ชื่อวงศ์ : APOCYNCEAE
ลักษณะของหยั่งสมุทร
เป็นไม้เถาเนื้ออ่อน มีเปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ทั่ว ภายในเปลือกลำต้นมียางสีขาว มักเจริญเติบโตอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ใบออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่กว้าง โคนใบมนหยักเว้า ปลายใบมนมีติ่งแหลม แผ่นใบสีเขียว ด้านบนใบมีขนนุ่มขึ้นประปราย ส่วนด้านท้องใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเรียบ มีความกว้างของใบประมาณ 8-18 ซม. ยาวประมาณ 10-19 ซม. ก้านใบมีความยาวประมาณ 1-4 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกมีลักษณะคล้ายรูปถ้วย ส่วนโคนเชื่อมติดกันและแยกออกเป็น 5 แฉกที่ส่วนปลาย ภายในหลอดดอกมีสีชมพู ส่วนด้านนอกกลีบมีสีขาวอมชมพู ปลายกลีบมักม้วนงอออกมาเมื่อดอกบาน มีกลีบรองดอกที่มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมจำนวน 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับผนังด้านในของดอกจำนวน 5 อัน มักออกดอกประมาณเดือนมิถุนายน-กันยายน ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปกรวยแหลม เปลือกฝักแข็ง มีขนยาวๆ ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ความกว้างของฝักมีประมาณ 2-3 ซม. ยาวประมาณ 8-10 ซม. ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กที่มีขนยาวเป็นกระจุกติดอยู่เป็นจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของหยั่งสมุทร
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หยั่งสมุทรต้องการ
ประโยชน์ของหยั่งสมุทร
หยั่งสมุทร มีดอกสวยงามแปลกตาจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนผลและดอกมีรสเปรี้ยวนำมาจิ้มเกลือหรือน้ำปลารับประทานได้ หรือจะนำไปปรุงกับอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยวได้ ส่วนเส้นใยที่ได้จากเปลือกต้นสามารถนำมาสานเป็นตาข่ายจับปลาได้
สรรพคุณทางยาของหยั่งสมุทร
ทั้งต้นใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการท้องเสียได้
คุณค่าทางโภชนาการของหยั่งสมุทร
การแปรรูปของหยั่งสมุทร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10286&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com