หลังดำ ผลสุกรับประทานได้ ต้นและผล ใช้เป็นยา

หลังดำ

ชื่ออื่นๆ : ตะโกพนม (ทั่วไป) กะละมัก (กาญจนบุรี ราชบุรี) มะด้ามหมุ่ย มะดำ (เหนือ) มะตับหมาก (เชียงใหม่ ลำพูน) หนังดำ หลังดำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากค่อน (นครราชสีมา).

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ตะโกพนม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros castanea fletcher

ชื่อวงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะของหลังดำ

ไม้ต้นขนาดเล็กสูง1.5-7เมตรใบเดี่ยวเรียงสลับใบรูปไข่มนหรือป้อมโคนใบป้านตรงหรือเว้าเข้าเล็กน้อยปลายใบมนสอบแคบบางทีหยักเป็นลอนกว้างๆเนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้านดอกช่อหรือดอกเดี่ยวออกตามซอกใบดอกแยกเพศ เพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆกลีบเกลี้ยง3กลีบดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวผลรูปป้อมหรือกลมผิวเปลือกหนาแข็ง

ตะโกพนม
หลังดำ ใบรูปไข่มน ใบหนาเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของหลังดำ

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่หลังดำต้องการ

ประโยชน์ของหลังดำ

รับประทานผลสุก ลำต้นทำเชื้อเพลิง (จากการสัมภาษณ์และจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชน)

สรรพคุณทางยาของหลังดำ

ต้น น้ำต้มเปลือก กินเป็นยาบำรุงร่างกาย
ผล เป็นยาฝาดสมาน กินเป็นยาแก้อาเจียน และแก้ท้องร่วง ผลทุบใช้เบื่อปลาได้

คุณค่าทางโภชนาการของหลังดำ

การแปรรูปของหลังดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9322&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment