หลุมพอทะเล
ชื่ออื่นๆ : ประดู่ทะเล (กลาง) งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
ต้นกำเนิด : อินโดแปซิฟิก
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze
ชื่อวงศ์ : leguminosae-caesalpinioideae
ลักษณะของหลุมพอทะเล
ไม้ต้น สูง 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงแผ่กว้าง เปลือกสีเทาแกมเหลืองถึงสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพูถึงส้ม ผิวเปลือกสีเขียว ก้านช่อใบยาว 3-8 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงเป็นคู่ 2 (-3) คู่ แผ่นใบย่อย เบี้ยว รูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ยกเว้นเส้นใบ ปลายมนกลมถึงหยักเว้า โคนมนถึงสอบ เส้นแขนง 5-7 คู่ ดอก สีขาว เปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงในเวลาต่อมา เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-2.5 เซนติเมตร ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล แบน รูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร แตกเมื่อแห้งมี 4-8 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ ปลายมนโคนตัด กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของหลุมพอทะเล
ลักษณะทางนิเวศและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มน้ำขัง ชายแม่น้ำลำคลอง และในป่าพรุด้านใกล้ทะเล ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ตลอดไปจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย
ธาตุอาหารหลักที่หลุมพอทะเลต้องการ
ประโยชน์ของหลุมพอทะเล
เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทนทาน
สรรพคุณทางยาของหลุมพอทะเล
กินแก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง ยอดอ่อน ต้มผสมกับผักปีกไก่ ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
คุณค่าทางโภชนาการของหลุมพอทะเล
การแปรรูปของหลุมพอทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9444&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com