หวายข้อดำ ลำต้นมีหนามรูปสามเหลี่ยมแบนเรียงเป็นแถบเฉียง ลำต้นนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์

หวายข้อดำ

ชื่ออื่นๆ : รอแตมาเนา (มลายู นราธิวาส) หวายข้อดำ (กลาง)

ต้นกำเนิด : กระจายทั่วไปบริเวณป่าเขตร้อน ในประเทศไทยพบบริเวณจังหวัดยะลาและนราธิวาส ภาคเหนือ พบในจังหวัดน่าน แพร่ พะเยาและสุโขทัย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calamus manan Miq

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของหวายข้อดำ

เป็นหวายขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นลำเดี่ยว ๆ ไม่แตกกอ กาบหุ้มลำมีสีเขียวออกขาว มีหนามรูปสามเหลี่ยมแบนเรียงเป็นแถบเฉียงหรือขวางลำ หรือกระจายเดี่ยว ๆ มีหนามขนาดเล็ก แทรกปนอยู่ไม่หนาแน่น ขอบหนามมีขุยสีดำ ปากกาบหุ้มลำมีหนาม knee เห็นชัด มีหนามรูปสามเหลี่ยมแบน และมีหนามขนาดเล็กกว่ากระจายอยู่ห่าง ๆ ก้านใบด้านล่างมีหนามรูปเล็บเหยี่ยวสีดำเรียงเดี่ยว ๆ เป็นแถวห่างกันเป็นระยะ ๆ ก้านใบด้านบนนูนเกลี้ยงไม่มีหนาม ทางใบค่อนข้างกลม ด้านล่างและขอบมีหนามรูปเล็บเหยี่ยว ปลายหนามสีดำขึ้นอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่ม ๆ cirrus มีหนามรูปเล็บเหยี่ยวเรียงเป็นกลุ่มทางด้านล่าง ปลายหนามสีดำ โคนสีเขียวออกเหลือง ใบย่อยรูปยาวเรียว สีเขียวออกเหลืองเมื่อสด และมีสีเหลืองซีดเมื่อแห้ง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบมีหนามรูปขนสีดำ ใบย่อยแต่ละข้างของทางใบ ใบเรียงตัวแบบสลับอย่างสม่ำเสมอ ผลรูปรี มีสีเหลืองเมื่อแห้ง สันเกล็ดหุ้มผลเป็นร่อง ขอบเกล็ดสีดำ

ต้นหวายข้อดำ
ต้นหวายข้อดำ ลำต้นมีหนามรูปสามเหลี่ยมแบนเรียงเป็นแถบเฉียงหรือขวางลำ
ใบหวายข้อดำ
ใบหวายข้อดำ ใบยาวเรียว ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบมีหนามรูปขนสีดำ

การขยายพันธุ์ของหวายข้อดำ

การเพาะเมล็ด/การขยายพันธุ์ โดยวิธีเลี้ยงเนื้อเยื่อมาก่อน

ธาตุอาหารหลักที่หวายข้อดำต้องการ

ประโยชน์ของหวายข้อดำ

ลำต้น นำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์

สรรพคุณทางยาของหวายข้อดำ

คุณค่าทางโภชนาการของหวายข้อดำ

การแปรรูปของหวายข้อดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10786&SystemType=BEDO
https://hr.wikipedia.org
https://identify.plantnet.org

Add a Comment