หวาย
ชื่ออื่นๆ : รอแต๊ะสะกอง, กาแต๊ะสะกอง, โรตันเซละ (มลายู-ภาคใต้) หวายตะคล้าทอง, หวายตะค้าทอง (นราธิวาส)
ต้นกำเนิด : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวพบในป่าเขตร้อน
ชื่อสามัญ : หวายตะค้าทอง, Rattan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calamus caesius Blume
ชื่อวงศ์ : Palmae
ลักษณะของหวาย
ต้น หวายขนาดเล็กถึงขนาดกลางขึ้นเป็นกอ กาบหุ้มลำเมื่อแห้งมีสีเหลืองซีด เมื่อสดมีสีเขียว และมีขุยสีขาวทั่วไป มีหนามรูปสามเหลี่ยม มีสีเดียวกับกาบหุ้มลำหรือมีสีน้ำตาลออกดำกระจายห่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ และมีหนามขนาดเล็ก ปลายหนามสีดำ กระจายแทรกอยู่ระหว่างหนามขนาดใหญ่ปลายหนามชี้ขึ้นหรือตั้งฉากกับลำต้น กาบหุ้มลำเมื่อแห้งปรากฏเห็นลายเส้นตลอดความยาว knee เห็นชัดเจน เกลี้ยงไม่มีหนาม
ใบ ความยาวใบเมื่อวัดรวมกาบหุ้มลำยาวถึง 2 เมตร ก้านใบในระยะแรกอาจยาวถึง 50 ซม. และสั้นลงเมื่อมีการพัฒนาของลำต้น แกนกลางใบยาวถึง 75 ซม. ใบย่อยรูปหอกหรือยาวรี ขนาดกว้าง 5 ซม. ยาว 30 ซม. มีจำนวน 15 ใบ ในแต่ละข้างของแกนกลางใบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีน้ำเงินเหลือบขาว
ดอก ช่อดอกเกิดบนกาบหุ้มลำเหนือซอกใบที่รองรับ ยาวถึง 2 เมตร ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน ใบประดับรูปหลอดติดแน่น มีหนามและขนปกคลุมห่างๆ แตกแขนงห่างๆ อันดับแรก 5-8 อัน แขนงที่มีดอกในช่อดอกเพศเมียมีขนาดเรียวเล็ก ยาวถึง 10 ซม. ในช่อดอกเพศผู้ แขนงส่วนนี้สั้นกว่า ดอกเพศผู้สีเขียวแกมเหลือง ขนาด 5 มม. X 3 มม. ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ เกิดเป็นคู่รวมกับดอกเพศผู้ที่เป็นหมัน
ผล ผลแก่มี 1 เมล็ด รูปไข่

การขยายพันธุ์ของหวาย
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หวายต้องการ
ประโยชน์ของหวาย
- เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้เพราะหวายสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมายโดย เฉพาะผิวหวายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานการทำเครื่องเรือนและใช้ผูกมัดได้เหมือนเชือก
- ลำหวายใช้ ทำบ้านเรือน คุณสมบัติที่ดีของหวายคือมีความเหนียว แข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่นได้ดีกว่าไม้ไผ่
- สำต้นหวายตันสามารถดัดโค้งงอได้ ด้วยการผ่านความร้อน
สรรพคุณทางยาของหวาย
–
คุณค่าทางโภชนาการของหวาย
การแปรรูปของหวาย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11741&SystemType=BEDO
www.biodiversity.forest.go.th, www.flickr.com
[…] คล้ายกับสกุลหวายลำต้นโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร […]