หอยขม นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม

หอยขม

ชื่ออื่นๆ : หอยจุ๊บ, หอยดูด

ต้นกำเนิด : พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น

ชื่อสามัญ : หอยขม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Viviparidae

ชื่อวงศ์ : –

ลักษณะของหอยขม

หอยขมเป็นหอยฝาเดียวอาศัยในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่จะงอยปาก สั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูกเป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ๆมีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม

หอยขม
เป็นหอยฝาเดียว เกลียวเวียนขวาเรียวขึ้นไปถึงยอดปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของหอยขม

-/-

ธาตุอาหารหลักที่หอยขมต้องการ

ประโยชน์ของหอยขม

เนื้อนิยม นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม หอยขมซึ่งมีขนาดเล็กมักใช้เป็นอาหารเป็ดและสัตว์อื่น ๆ เป็นหอยที่มีฝาปิด รูปร่างเป็นเกลียว ขนาด 1.5-3 x2.5-4 ซม. เปลือกส่วนที่กว้างที่สุดเป็น เส้นนูนเป็นวงรอบ อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชอบเกาะอยู่ตามเสาสะพาน หรือขอนไม้ที่จมอยู่ในน้ำหอยขม Filopaludina(Siamopaludina) javanica เป็นหอยที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด 1-2 x 2-3 ซม.สีน้ำตาล

แกงคั่วหอยขม
นำส่วนเนื้อในมาทำแกงคั่ว

สรรพคุณทางยาของหอยขม

หอยขมชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่งมีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้นอาหารธรรมชาติ กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน

คุณค่าทางโภชนาการของหอยขม

การแปรรูปของหอยขม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10528&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment