หัวร้อยรู
ชื่ออื่นๆ : กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี), ดาลูปูตาลิมา (มลายู ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : ในประเทศไทยมีเขตการกระจายพันธุ์มักขึ้นในป่าดงดิบทั่วไป
ชื่อสามัญ : Ant plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnophytum formicarum Jack
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของหัวร้อยรู
ต้น ไม้พุ่ม อิงอาศัยบนต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 เซนติเมตร โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูป ป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-40 เซนติเมตร ภายในเป็นโพรง จำนวนมาก มักเป็นที่อาศัยของมด
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร แผ่นใบหนาอวบน้ำ ใบเกลี้ยง ปลายใบมน
ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก
ผล ผลเป็นผลสดฉ่ำน้ำ รูปรีถึงรูปไข่กลับ ผลแก่สีส้มถึงแดง
การขยายพันธุ์ของหัวร้อยรู
การแยกต้นหรือการตัดชำกิ่งที่มีรากแล้วมาเพาะ
ประโยชน์ของหัวร้อยรู
- หัว บำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้พิษในข้อและในกระดูก แก้ประดง บำรุงน้ำนม
- ทั้ง 5 บำรุงกระดูกและดับพิษในกระดูก
สรรพคุณทางยาของหัวร้อยรู
- หัวร้อยรูเป็นพืชที่มีการใช้ในยาแผนโบราณ โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชทั้งราก ใบ และลำต้น เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดข้อ หรือแม้กระทั่งอาการปวดท้อง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11812&SystemType=BEDO , สวนพฤกษศาสตร์ ระยอง
ภาพประกอบ : www.flickr.com
หัวร้อยรู ส่วนหัว บำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้พิษในข้อและในกระดูก แก้ประดง บำรุงน้ำนม
หัวร้อยรู ภายในเป็นโพรง จำนวนมาก มักเป็นที่อาศัยของมด