หัวใจทศกัณฐ์ ใบรูปหัวใจคว่ำ สีเขียวเข้ม

หัวใจทศกัณฐ์

ชื่ออื่นๆ : ต้าง (อุบลราชธานี) เทียนขโมย (กลาง)  ละออง (สท) ด้าง หัวใจทศกัณฐ์

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hoya kerrii Craib

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของหัวใจทศกัณฐ์

ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัย มีน้ำยางขาว ลำต้นกลม อวบหนา สีเขียวหรือสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น ตามข้อมีรอยแผลใบที่ใบหลุดไปชัดเจน ยาวได้ถึง 3 เมตร

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหัวใจคว่ำ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ฉ่ำน้ำ ผิวด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนสั้นๆ ฐานใบเว้าเล็กน้อยหรือมน ปลายใบเว้า ขอบใบโค้งเรียบ เส้นใบไม่ชัดเจน มีช่องอากาศกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ 2-3 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.8 เซนติเมตร

ดอก ช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อมี 10-25 ดอก กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว อวบน้ำ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ผิวกลีบด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน กลีบกว้างและยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร รยางค์รูปมงกุฎสีน้ำตาลแกมม่วง แต่ละแผ่นมีปลายด้านนอกมนกลมหรือเว้าเล็กน้อย ปลายที่หันเข้าสู่ศูนย์กลางดอกสอบแหลม เวลาบานกลีบดอกจะโค้งกลับลงข้างล่าง ก้านดอกย่อยมีขนหนาแน่น เส้าเกสรรูปไข่กลับ เกสรเพศผู้มี 5 อัน อยู่ระหว่างรอยต่อของเส้าเกสร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ มี 4-5 กลีบ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาว 2 มิลลิเมตร ปลายมนหรือแหลม ผิวด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขน

ผล เป็นฝักคู่ รูปดาบแกมใบหอก แตกตะเข็บเดียว เมล็ดสีน้ำตาล ขนาดเล็ก รูปไข่ มีกระจุกขนสีขาวคล้ายเส้นไหมที่ปลายด้านหนึ่ง พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม

ต้นหัวใจทศกัณฐ์
ต้นหัวใจทศกัณฐ์ เลื้อยเกาะอิงอาศัย ลำต้นกลม อวบหนา

การขยายพันธุ์ของหัวใจทศกัณฐ์

การชำใบ

ธาตุอาหารหลักที่หัวใจทศกัณฐ์ต้องการ

ประโยชน์ของหัวใจทศกัณฐ์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ตัดใบที่แข็งแรงนำมาปลูกในกระถางเล็ก

ใบหัวใจทศกัณฐ์
ใบหัวใจทศกัณฐ์ รูปหัวใจคว่ำ สีเขียวเข้ม

สรรพคุณทางยาของหัวใจทศกัณฐ์

ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ต้นและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน น้ำยางขาว ใช้ทาแผลสด เช่นแผลมีดบาด ช่วยสมานแผล ใบสด ตำผสมปูนที่กินกับหมาก ทารักษาแผลเน่าเปื่อยของกระบือ

ตำรายาไทย  ใช้ใบ ภายนอก รักษาบาดแผล บวม รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด และใช้ภายใน รักษาสมองอักเสบ โรคปอดบวม และอัณฑะอักเสบ

ยาพื้นบ้านภาคเหนือ  ใช้ใบสด อังไฟให้ร้อน นาบแก้อาการบวมตามข้อ

ดอกหัวใจทศกัณฐ์
ดอกหัวใจทศกัณฐ์ ดอก ช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ ดอกสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของหัวใจทศกัณฐ์

การแปรรูปของหัวใจทศกัณฐ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12081&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment