หางกระรอก ดอกหางเสือ สรรพคุณแก้พิษสัตว์กัดต่อย

หางกระรอก

ชื่ออื่นๆ : ว่านเสลดพังพอน, ดอกหางเสือ, หางเห็น

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หางกระรอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uraria acaulis Schindl.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะของหางกระรอก

ต้น ไม้พุ่มล้มลุกขนาดย่อม สูง 10-25 เมตร ลำต้นสั้นมากหรือไม่ชัดเจน มีขนหยาบแข็งหนาแน่น รากมีไหล

ใบ ใบประกอบมี 1 ใบย่อย เรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง 3-4.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-5 เซนติเมตร ปลายมน มีติ่งหนาม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนหยาบแข็งทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น มีขนหยาบแข็ง ก้านช่อใบยาวเท่าหรือยาวมากกว่าแผ่นใบ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ติดทน หูใบย่อยยาว 4-5 มิลลิเมตร

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ช่อแน่น รูปทรงกระบอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-15 เซนติเมตร ปกคลุมด้วยขนหยาบแข็ง ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร เมื่อเป็นผลยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ใบประดับสีชมพู รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 4-5 มิลลิเมตร ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม มีขนแข็งยาวหนาแน่น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนแข็ง แฉกล่างยาวกว่าแฉกบน กลีบดอก 5 กลีบสีชมพู ยาว 5-6 มิลลิเมตร ร่วงเร็ว กลีบกลางรูปหัวใจกลับ กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร กลีบคู่ข้างมีติ่ง กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร กลีบคู่ล่างมีติ่ง กว้าง 1-4 มิลลิเมตร มีก้านกลีบยาว รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 2 เม็ด ฝักมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ออกดอกออกผลราวเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกรกฎาคม

ต้นหางกระรอก
ต้นหางกระรอก ไม้พุ่มล้มลุก ลำต้นมีขนหยาบแข็งหนาแน่น
ดอกหางกระรอก
ดอกหางกระรอก ดอกแบบช่อที่ปลายยอด ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น

การขยายพันธุ์ของหางกระรอก

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หางกระรอกต้องการ

ประโยชน์ของหางกระรอก

แก้พิษแมลงกัดต่อย

สรรพคุณทางยาของหางกระรอก

ตำรายาไทย ใช้ ราก รสจืดเย็นเบื่อ ฝนกับสุรา หรือน้ำมะนาวรับประทาน และทาแก้พิษงู พิษขบกัด แก้พิษสัตว์กัดต่อย

คุณค่าทางโภชนาการของหางกระรอก

การแปรรูปของหางกระรอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12228&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org

Add a Comment