ต้นหางกวาง พืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

หางกวาง

ชื่ออื่นๆ : หางกวางผู้, ช้างน้าว (อุบลราชธานี) กาปิโต (ตราด) ท้องปลิง (ภาคใต้) ช้างโน้ม (ปราจีนบุรี) ยูลง (มลายู นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าดิบแล้งและชายป่าดิบชื้น จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gomphia serrata (Gaertn.) Kanis

ชื่อพ้อง : Campylospermum abbreviatum Tiegh., C. beccarianum (Bartel) Tiegh., C. borneense (Bartel) Tiegh., C. cumingii Tiegh., C. kingii Tiegh., C. leschenaultii Tiegh., C. malabaricum (DC.) Tiegh., C. nodosum Tiegh., C. perakense Tiegh., C. plicatum Tiegh., C. retinerve Tiegh., C. rheedii Tiegh. , C. serratum (Gaertn.) Bittrich & M.C.E.Amaral, C. strictum Tiegh., C. sumatranum (Jack) Tiegh., C. thwaitesii Tiegh., C. vahlianum Tiegh., C. walkeri Tiegh., C. wallichianum Tiegh., C. zeylanicum (Lam.) Tiegh., Euthemis elegantissima Wall., Gomphia angustifolia Vahl, G. ceylanica Spreng., G. malabarica DC., G. microphylla Ridl., G. oblongifolia Ridl., G. sumatrana Jack, G. zeylanica (Lam.) DC., Meesia serrata Gaertn., Ochna angustifolia (Vahl) Kuntze, O. zeylanica Lam., Ouratea serrata (Gaertn.) N. Robson, Walkera serrata

ชื่อวงศ์ : Ochnaceae

ลักษณะของหางกวาง

ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ แตกกิ่งก้านต่ำ

ต้นหางกวาง
ต้นหางกวาง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ

ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ค่อนข้างเรียวยาว หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 6-20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือสอบแคบ ขอบใบเรียบแต่เป็นหยักคลื่น เนื้อใบเนียนเกลี้ยงและหนาเป็นมัน ก้านใบยาว 2-6 มิลลิเมตร

ใบหางกวาง
ใบหางกวาง ใบรูปไข่ค่อนข้างเรียวยาว เนื้อใบเนียนเกลี้ยงและหนาเป็นมัน

ดอก  ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ดอกสีเหลือง ร่วงง่าย กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4.5-8 มิลลิเมตร ปลายมน กลม หรือตัด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 4-7 มิลลิเมตร ติดทน สีเขียวออกเหลือง เกสรเพศผู้ 10 อัน ไร้ก้านหรือมีก้านสั้น ๆ ยาวไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร อับเรณูเรียวยาว ยาว 2.5-6 มิลลิเมตร ปลายมีรูเปิด 2 รู ฐานดอกนูนกว้างสูง 0.7-1 มิลลิเมตร ขยายในผลได้ถึงประมาณ 5 มิลลิเมตร คาร์เพลยาว 0.7-1 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาว 3-5 มิลลิเมตร ขยายในผลยาวได้ประมาณ 7 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 5-8 มิลลิเมตร ออกดอกราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

ดอกหางกวาง
ดอกหางกวาง ดอกสีเขียวออกเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ

ผล ผลสดรูปไข่กลับ ติดบนฐานดอก มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดคงทน พับงอกลับ ผลกว้าง 4-5 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวเทา พอสุกเป็นสีเทาอมน้ำเงินหรือออกม่วงดำ มีเมล็ดเดียว  ติดผลราวเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

ผลหางกวาง
ผลหางกวาง ผลรูปไข่ ติดบนฐานดอก ผลอ่อนมีสีเขียวเทา พอสุกเป็นสีเทาอมน้ำเงินหรือออกม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของหางกวาง

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หางกวางต้องการ

ประโยชน์ของหางกวาง

  • ต้นหางกวางเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

สรรพคุณของหางกวาง

  • ทั้งต้น เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน
  • ราก นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลง ทำให้เกิดโรค) แก้เบาหวาน
  • แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด
  • ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย
  • ใบแก่ ใช้ห่อขี้ไต้

คุณค่าทางโภชนาการของหางกวาง

การแปรรูปหางกวาง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ :  www.flickr.com

One Comment

Add a Comment