หูเสือ หอมด่วนหลวง เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ

หูเสือ

ชื่ออื่นๆ : เนียมหูเสือ (ภาคกลาง) หอมด่วนหลวง, หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) ผักฮ่านใหญ่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Indian borage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. ( Syn. Coleus amboinicus Lour.)

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

ลักษณะของหูเสือ

ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก

ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน

ต้นหูเสือ
ต้นหูเสือ ลำต้นมีขนหนาแน่น

การขยายพันธุ์ของหูเสือ

การปักชำยอด

ธาตุอาหารหลักที่หูเสือต้องการ

ประโยชน์ของหูเสือ

ใบรับประทานเป็นผักกับเครื่องจิ้ม ลาบ ก้อย ได้

สรรพคุณทางยาของหูเสือ

ส่วนที่ใช้ : ใบสด

  • ราก ช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ
  • ใบ แก้ปวดหู แก้ฝีในหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี

วิธีใช้ – ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู หูน้ำหนวก

ดอกหูเสือ
ดอกหูเสือ ใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง

คุณค่าทางโภชนาการของหูเสือ

การแปรรูปของหูเสือ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11686&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment