อรพิม เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

อรพิม

ชื่ออื่นๆ : คิ้วนาง, อรพิม (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : พบเฉพาะภาคกลางและภาคเหนือของไทย ขึ้นตามป่าละเมาะ

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของอรพิม

ต้น  เป็นไม้เถาเลื้อย ที่มีลำต้นหรือเถาแข็ง มีอายุหลายปี เป็นไม้ที่มีมือเกาะม้วนงอ

ใบ  ใบประกอบขนาดเล็ก รูปกลม โคนและปลายเว้า คล้ายใบแฝด

ดอก  ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลอมเขียว มีขนคล้ายกำมะหยี่ กลีบดอกสีขาวรูปช้อน 5 กลีบ กลีบกลางแต้มสีเหลือง แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาว 10 อัน ขนาดดอก 10-15 เซนติเมตร  ดอกมีกลิ่นหอม ออกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

ผล  เป็นฝักสีน้ำตาล ยาว 5-10 เซนติเมตร มี 6-10 เมล็ด

อรพิม
อรพิม ใบประกอบขนาดเล็ก รูปกลม
ดอกอรพิม
ดอกอรพิม ดอกสีขาว กลางแต้มสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของอรพิม

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่อรพิมต้องการ

ประโยชน์ของอรพิม

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • เปลือกไม้ใช้เคี้ยวกับหมาก และเส้นใยจากเปลือกไม้ใช้ทำเชือก
  • เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สรรพคุณทางยาของอรพิม

เปลือกต้น เป็นยาแก้ท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของอรพิม

การแปรรูปของอรพิม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9606&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment