ออบแอบ
ชื่ออื่นๆ : ออบแอบ, ส้มน้ำออบ, ส้มออบ, อ๊อบแอบ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ส้มพอดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Embelia sucoriacea Mez
ชื่อวงศ์ : MYRCINACEAE
ลักษณะของออบแอบ
ต้น เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อนพันต้นไม้อื่นลักษณะเถาเป็นสี่เหลี่ยม แบ่งเป็นข้อๆ
ใบ มีลักษณะเรียว ปลายแหลม โคนใบ เป็นง่าม ขอบใบเรียบ ใบกรอบเกรียม (บางกว่าส้มปูนแต่ใบยาวกว่า)
ดอก มีสีเหลือง กลิ่นเหม็นเอียน ออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาว 3-5 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอก 4 กลีบ รูปรีแกมขอบขนาน ยาว 1-1.5 มม. เกสรผู้ 4 อัน
ผล เป็นช่อคล้ายลูกเถาคันแต่มีขนาดเล็ก เท่าเมล็ดพริกไทย มีผลประมาณ 30-40 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของออบแอบ
ใช้เมล็ดและเถา
ธาตุอาหารหลักที่ออบแอบต้องการ
ประโยชน์ของออบแอบ
ใช้ยอด ใบเพสลาด หรือใบแก่ นำมาประกอบอาหารให้มีรสเปรี้ยว ในภาคอีสานนิยมนำมาใช้ใส่แกงเห็ด ต้มไก่ ต้มปลา
เหตุที่เรียกส้มพอดี เนื่องจากแม้ว่าจะใส่ต้นออบแอบในปริมาณที่มาก ก็จะยังคงรสชาติที่พอดี ไม่เปรี้ยวมากเกินนั่นเอง
สรรพคุณทางยาของออบแอบ
ราก แก้อักเสบ เนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ต้มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนสำหรับเด็ก
ใบสด ตำพอกแก้พิษสุนัขกัด ดับพิษซางตาน ขับพยาธิ
คุณค่าทางโภชนาการของออบแอบ
การแปรรูปของออบแอบ
ผลสุกจะนำไปหมักทำไวน์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11722&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com