อะราง
ชื่ออื่นๆ : คางฮุ่ง, จ๊าขาม, ซ้าขม, อินทรี, ร้าง, อะล้าง, กว่าแซก, คางรุ้ง, ช้าขม, ตาเซก, นนทรี
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : อะราง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะของอะราง
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือแผ่กว้างเล็กน้อย เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุมหนาแน่น
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ช่อรวม ยาว 15-40 ซม. ใบย่อย 6-16 คู่ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 5 มม. ยาว 10-15 มม. โคนเบี้ยว
ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อห้อย ยาว 10-20 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปป้อม ผิวกลีบย่น เกสรผู้มี 10 อัน ออกดอกมกราคม-มีนาคม
ผล เป็นฝักแบน กว้าง 2-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนและปลายฝักเรียวแหลม เมล็ดแบน เรียงตัวตามขวาง 1-8 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของอะราง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่อะรางต้องการ
ประโยชน์ของอะราง
- เปลือกด้านใน นิยมมารับประทาน โดยนีการปรุงเหมือนตำแตง หรือตำใส่มดแดงในฤดูร้อน
- เปลือกนอกใช้เป็นสีย้อมธรรมชาติ
- เนื้อไม้ก่อสร้าง
- ใบนิยมกินกับก้อย
- ต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของอะราง
- เปลือก แก้เจ็บคอ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับลม
- แก่น ต้มดื่มแก้โรคกระเพาะ
คุณค่าทางโภชนาการของอะราง
การแปรรูปของอะราง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10956&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment