อีขิว
ชื่ออื่นๆ : หญ้าค่าพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) หญ้าเมืองวาย, หญ้าเมืองฮ้าง (ภาคเหนือ) ชิโพกวย, ไช้ปู่กอ, เซโพกวย, บ่อโส่, เพาะจีแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สาบเสือ (สิงห์บุรี) บ้านร้าง, ผักคราด (ราชบุรี) เบญจมาศ (ตราด) ฝรั่งรุกที่, ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี) หญ้าดงร้าง, หญ้าพระศิริไอยสวรรค์ (สระบุรี) หญ้าฝรั่งเศษ (จันทบุรี, ตราด) หมาหลง (ชลบุรี) มนทน (ชาวบน-เพชรบูรณ์) มุ้งกระต่าย (อุดรธานี) หญ้าลืมเมือง (หนองคาย) หญ้าเหม็น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หญ้าดอกขาว (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง
ชื่อสามัญ : Siam weed, Bitter bush, Christmas bush, Devil weed, Camfhur grass, สาบเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium odoratum Linn.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ลักษณะของอีขิว หรือ ต้นสาบเสือ
ต้น เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร
ใบ ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน
ดอก ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม
การขยายพันธุ์ของอีขิว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่อีขิวต้องการ
ประโยชน์ของอีขิว
สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง
ใบ ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กระอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย
ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้
สรรพคุณทางยาของอีขิว
- ใบ ยารักษาแผลสด
- สมานแผล
- ถอนพิษแก้อักเสบ
- แก้พิษน้ำเหลือง
- แก้ตาฟาง
- แก้ตาแฉะ
คุณค่าทางโภชนาการของอีขิว
การแปรรูปของอีขิว
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย ด้วยใบสาบเสือ
ขั้นตอนการทำ
- นำใบสาปเสือมาหั่นหยาบ ชั่งประมาณ 3 กิโลกรัม
- ต้มใบสาบเสือในน้ำต้มในน้ำ 20 ลิตร จนน้ำเดือดเล็กน้อย แล้วต้มต่อไป ประมาณ 30 นาที แล้วตักใบสาบเสือออก กรองน้ำที่ได้ผ่านผ้ากรอง ได้น้ำเป็นสีเขียวอมเหลือง
3.นำน้ำย้อมใบสาบเสือที่ผ่านการกรองแล้วขึ้นตั้งไฟจนเดือดอ่อนๆ จำนั้นจึงเติมตัวช่วยติดสี
- ถ้าต้องการสีเหลือง ใช้ สารส้มเป็นสารช่วยติดสี
- ถ้าต้องการสีเขียว ใช้จุนสี (CuSO4) เป็นสารช่วยติดสี
- ถ้าต้องการสีเขียวขี้ม้า ใช้สนิมเหล็ก (FeSO4) เป็นสารช่วยติดสี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http:// www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspxid=9179&SystemType=BEDO
http:// otop.dss.go.th
2 Comments