เอื้องต้น เอื้องดิน
ชื่ออื่นๆ : เอื้อง (อุบลราชธานี) เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช) เอื้องต้น (ยะลา) เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) เอื้องดิน, เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (ภาคใต้) ซูแลโบ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) ชู้ไลบ้อง, ซูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กู่เก้ง (ม้ง) ชิ่งก๋วน (เมี่ยน) ลำพิย้อก (ลั้วะ) ดื่อเหม้ (ยึ) (ปะหล่อง) จุยเจียวฮวย (จีน)
ต้นกำเนิด : อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี
ชื่อสามัญ : เอื้องหมายนา Crape ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus speciosus Smith
ชื่อวงศ์ : Costaceae
ลักษณะของเอื้องต้น เอื้องดิน
ต้น เป็นพืชล้มลุกมีหัว ลำต้นกลมอวบนำสูง 1.5-2.5 เมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว บริเวณโคนต้นติดหัวแข็งคล้ายไม้
ใบ ใบออกเรียงกันเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย ตัวใบยาวเรียวแหลมฐานใบมน โคนใบมีขนและมีส่วนหุ้มรอบลำต้น
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ยอด ดอกย่อยรวมกันอยู่หนาเน่น ใบประดับสีม่วงแดงลักษณะรูปไข่ แต่ละใบประดับมีดอกย่อย 1 ดอก ดอกย่อยมีกลีบ เลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ ลักษณะกลมปลายมนสีขาวหรือออกแดงเล็กน้อย ส่วนอีก กลีบหนึ่งลักษณะคล้ายลิ้น เป็นแผ่นสีขาวตรงกลางสีเหลือง ขอบหยักเป็นคลื่น
ผล ผลกลมมีเนื้อแข็งสีแดง เมล็ดสีดำเป็นมัน เอื้องหมายนาชอบขึ้นในที่ชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณเชิงเขาตามนำตก และริมทางน้ำ
การขยายพันธุ์ของเอื้องต้น เอื้องดิน
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เอื้องต้น เอื้องดิน ต้องการ
ประโยชน์ของเอื้องต้น เอื้องดิน
- หน่ออ่อนที่งอกจากต้นในช่วงฤดูฝน สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้ แต่ต้องนำมาต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อขจัดกลิ่น เมื่อนำมาต้มหรือลวกแล้วจะใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงส้ม นำมาหั่นแล้วผัดใส่เนื้อหรือใส่แกงเนื้อ เป็นต้น
- ใช้เหง้าซึ่งมีเมือกลื่นรสฝาด และไม่มีกลิ่นเป็นอาหาร ในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะใช้หน่ออ่อนใส่แกง และใช้รับปะทานเป็นผัก
- เป็นอาหารสัตว์จำพวก โค กระบือ
สรรพคุณทางยาของเอื้องต้น เอื้องดิน
- เหง้า รสฉุน เย็นจัด มีพิษ ใช้ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ สตรีตกขาวเละโรคที่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักแสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง
คุณค่าทางโภชนาการของเอื้องต้น เอื้องดิน
การแปรรูปของเอื้องต้น เอื้องดิน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11900&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com