เขยตาย ผลสุกสีแดงมีรสหวาน รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน

เขยตาย

ชื่ออื่นๆ : กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว กระโรกน้ำข้าว ลูกเขยตาย เขนทะ น้ำข้าว ประยงค์ใหญ่ พุทธรักษา มันหมู ส้มชื่น  เขยตายแม่ยายชักลาก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้มชื่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.

ชื่อวงศ์ : Rutaceae

ลักษณะของเขยตาย

ต้น ไม้ขนาดกลาง ลำต้นโตเท่าต้นหมาก สูง 3-6 ม. ส่วนผิวของลำต้นเป็นสีเทาๆ ตกกระ เป็นดวงสีขาวๆ

ใบ ปลายใบจะเรียวเล็ก ส่วนกลางใบจะกว้าง ริมใบเรียบ ปลายใบแหลม ยาว 9-18.5 ซ.ม. กว้าง 3-7 ซ.ม. ก้านใบสั้น

ดอก ออกในช่วงฤดูฝน มีขนาดเล็กๆ สีขาวรวมอยู่ในช่อเดียวกันเป็นช่อยาวๆ

ผล มีสีแดงกลมและโตเท่าผลมะแว้ง ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว เมล็ดนั้นมีสีดำ ผลแก่จัดในฤดูหนาว มีรสหวาน

ต้นเขยตาย
ต้นเขยตาย ลำต้นสีเทา ปลายใบจะเรียวเล็ก ส่วนกลางใบจะกว้าง ริมใบเรียบ

การขยายพันธุ์ของเขยตาย

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เขยตายต้องการ

ประโยชน์ของเขยตาย

ผลสุกมีรสหวาน รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน

ต้นเขยตายแม่ยายชักลาก หรือต้นเขยตายแม่ยายปรก ตามประวัติกล่าวว่า ที่ได้ชื่อว่าต้นเขยตายแม่ยายปรกนี้ เนื่องจากแม่ยายกับลูกเขยเดินทางไปหาของป่าเพื่อนำมาทำอาหาร แต่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน คือ ลูกเขยถูกงูมีพิษกัด เลยหาเอาใบไม้อะไรสักอย่างหนึ่งมาปกคลุมร่างของลูกเขยไว้ แล้วจึงวิ่งไปหมู่บ้านตามคนมาช่วยหามศพลูกเขยกลับบ้าน แต่เมื่อแม่ยายนำชาวบ้านมาเพื่อจะนำศพลูกเขย แต่กลับพบว่าเจอลูกเขยเดินกลับมาที่หมู่บ้านเอง จึงถามลูกเขยว่าทำไมถึงฟื้นจากพิษงูกัด ลูกเขยบอกว่าเกิดจากต้นไม้ใบไม้ที่แม่ยายนำมาปกร่างไว้นั้น ทำให้ฟื้นจากพิษของงู นี่คือที่มาของชื่อ “เขยตายแม่ยายปรก” หรือ “เขยตาย แม่ยายชักลาก”

ผลเขยตาย
ผลเขยตาย สีแดงกลม

สรรพคุณทางยาของเขยตาย

มีสรรพคุณช่วยแก้พิษจากสัตว์ต่างๆ ได้ดี เช่น ตะขาบกัด ปลาดุก ปลาแขยง ปักมือ แมลงต่อย โดยนำใบมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอก ทิ้งไว้สักครู่ อาการก็จะหาย การรักษาพิษสัตว์กัด ต่อย ต่างๆ เช่น พิษของงูที่มีพิษไม่รุนแรง เป็นต้น

ราก รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ เปลือก ขับน้ำนม รักษาฝี

คุณค่าทางโภชนาการของเขยตาย

การแปรรูปของเขยตาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10927&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment