เขียด ว่านไม้ประดับนามมงคล

เขียด

ชื่ออื่นๆ : ว่านจูงนาง, อึ่งเปราะ, ว่านถอนพิษ, กำปองดิน, ว่านเขียด (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ว่านจูงนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Geodorum attenuatum Griff

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะของเขียด

เป็นกล้วยไม้ดิน สูง 30 ซม. ลำต้นใต้ดิน เป็นหัวรูปกลมแป้นเรียงต่อกันเป็นแถว เห็นข้อปล้องชัดเจน รากออกตามข้อ
ใบ เดี่ยว รูปใบหอก แผ่นใบพับจีบ เนื้อใบหนา
ดอก ช่อดอกออกจากเหง้า เกิดก่อนหรือพร้อมกับผลิใบ ช่อยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกสีขาวกลีบปากสีเหลือง โคนสีน้ำตาลแดง

ต้นเขียด
ต้นเขียด เนื้อใบหนา ดอกสีขาว กลีบปากสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของเขียด

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ การปลูก ควรปลูกว่านด้วยดินปนทรายรดน้ำมากๆ แต่ระวังอย่าให้ดินแฉะ ควรจัดวางให้ได้รับแสงแดดรำไรบ้างพอสมควร

ธาตุอาหารหลักที่เขียดต้องการ

ประโยชน์ของเขียด

เป็นว่าน ไม้ประดับนามมงคล และไม้ประดับ

เป็นว่านมหาเสน่ห์ และเป็นเมตตามหานิยม กลิ่นของดอกที่ส่งออกมาจะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรงผู้ใดสูดกลิ่นของดอกว่านนี้ก็จะวุ่นวายไปตามแรงอารมณ์ใคร่ นักเลงเจ้าชู้นิยมเอาดอกว่านแช่น้ำมันจันทน์ หรือผสมสีขี้ผึ้งใช้ติดตัวและสีปากเพราะถือว่าเป็นยอดมหาเสน่ห์ ฉะนั้นว่านี้เมื่อเวลาออกดอกต้องเด็ดดอกออกเสีย อย่าปล่อยให้บานคาต้นส่งกลิ่นหอมไปทั่วเด็ดขาดจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด และว่านตัวชนิดนี้ สามารถนำไปทำมวลสาร ทำ วัตถุมงคล เช่น พระเครื่อง กุมาร สีผึ้ง น้ำมันมหาเสน์มหานิยม ผงเสน์ พกติดตัวดึงดุดเพศตรงข้ามเรียกทรัพย์ หรือ ปลูก เรียกทรัพย์ได้เหมือนกัน

สรรพคุณทางยาของเขียด

คุณค่าทางโภชนาการของเขียด

การแปรรูปของเขียด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10676&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment