เข็มขาว
ชื่ออื่นๆ : เข็มไม้ (ไทย) , เข็มพระราม (กรุงเทพ) , เข็มปลายสาน (ตานี) , เข็มขาว (พายัพ)
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : เข็มขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora finlaysoniana Wall. ex. G. Don.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของเข็มขาว
– ต้น : เข็มขาวเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
– ใบ : ใบของเข็มขาว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ริมขอบใบจะเรียบตรงปลายใบของมันจะมน
– ก้านดอก : ก้านดอก เข็มขาวนั้นจะยาวส่วนปลายก้านดอกจะเป็นกลีบเล็กๆ อยู่เพียง 4 กลีบ
– ดอก : ดอกเข็มขาว นั้นจะออกรวมกันอยู่เป็นช่อ มีสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น
เข็มขาว เป็นเข็มลักษณะพิเศษกว่าเข็มชนิดอื่นๆ ตรงที่มีสรรพคุณทางยา อีกทั้ง ดอกมีกลิ่นหอม (แต่เข็มชนิดอื่นไม่มีกลิ่นหอม) อีกทั้งมีช่อดอกที่อูมใหญ่ โดดเด่น สวยงามมากๆ ดอกเข็มขาวนั้นจะออกรวมกันอยู่เป็นช่อ มีสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น

การขยายพันธุ์ของเข็มขาว
ใช้กิ่ง/ลำต้น/ข็มขาว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่เข็มขาวต้องการ
ประโยชน์ของเข็มขาว
ราก ใช้ปรุงเป็นยากิน รักษาโรคตา เจริญอาหาร
สรรพคุณทางยาของเข็มขาว
ใบ – รสขื่น ฆ่าพยาธิ
ดอก – รสหวานเย็น แก้โรคตา
ราก – รสหวาน แก้เจ็บตา เจริญอาหาร แก้บวม ขับเสมหะและกำเดา (ลดไข้) บำรุงไฟธาตุ แก้บวม
ใช้รากต้มน้ำดื่มเป็นยาช่วยเจริญอาหาร และแก้โรคตาต่างๆ
คุณค่าทางโภชนาการของเข็มขาว
การแปรรูปของเข็มขาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11786&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments