เข็มส้ม ดอกรูปเข็ม สีส้มเหลืองอมชมพู นิยมปลูกประดับตกแต่งสวน หรือริมทางเดิน

เข็มส้ม

ชื่ออื่นๆ : เข็มส้ม, เข็ม, เข็มสีส้ม

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Ixora, West Indian Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora spp.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของเข็มส้ม

ต้น เข็มเป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางขนาดลำต้นมีความสูงประมาณ3-5 เมตรลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกถึงรูปรี ยาวประมาณ 9.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนใบรูปหัวใจ

ดอก ช่อดอกแบบซี่ร่มเชิงประกอบ ออกดอกที่ปลายกิ่ง ดอกรูปเข็ม สีส้มเหลืองอมชมพู โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาวประมาณ 2.8 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปรีกลีบใหญ่ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.8 เซนติเมตร

เข็มส้ม
เข็มส้ม รูปใบหอกถึงรูปรี ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของเข็มส้ม

การปักชำ, การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชำและการตอน

ธาตุอาหารหลักที่เข็มส้มต้องการ

ประโยชน์ของเข็มส้ม

นิยมประดับตกแต่งสวน หรือริมทางเดิน

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคม
ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม นอกจากนี้ยังใช้
ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนักม้ประดับ ส่วนใหญ่ใช้ปลูกเป็นแนวรั้ว และใช้เป็นไม้ประดับ มีทั้งแบบ ใบเล็กดอกเล็ก และ ใบใหญ่ดอกใหญ่ สีส้มสวยงาม

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ

ดอกเข็มส้ม
ดอกเข็มส้ม ดอกเป็นซี่ร่ม สีส้มเหลืองอมชมพู ออกที่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของเข็มส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของเข็มส้ม

การแปรรูปของเข็มส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10697&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment