เข็มแดง
ชื่ออื่นๆ : เข็มแดง
ต้นกำเนิด : แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Glossy Ixora/ Bunga Selang/ Kramat Hujan/ Penabas
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora sp.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของเข็มแดง
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว
ใบ : ใบนั้นจะหนายาวและแข็งมีสีเขียวสด ตรงปลายใบของมันจะแหลม
ดอก : ดอกนั้นจะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่แบนมีสีแดงเข้ม ดอกนั้นจะโตกว่าเข็มขาวมาก แต่ไม่มีกลิ่นหอม
เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันตามชนบท และชอบขึ้นเองตามป่าราบ หรือป่าเบญจพันธุ์ พรรณไม้นี้ถ้าอยู่นานหลายปีอาจจะโตเท่าต้นมะม่วงได้
การขยายพันธุ์ของเข็มแดง
การตอนกิ่ง, การทาบกิ่ง หรือปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่เข็มแดงต้องการ
ประโยชน์ของเข็มแดง
นิยมประดับตกแต่งสวน หรือริมทางเดิน
สรรพคุณทางยาของเข็มแดง
- ราก ขับเสมหะ แก้กำเดา แก้บวม แก้โรคตา แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดประสาท บำรุงไฟธาตุ
- ดอก ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดประสาท แก้บิด แก้ท้องเสีย
คุณค่าทางโภชนาการของเข็มแดง
การแปรรูปของเข็มแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12114&SystemType=BEDO
www.flickr.com