เข้าพรรษา เป็นไม้ล้มลุก ดอกมีสีเหลือง คล้ายรูปตัวหงส์กำลังเหินบิน

เข้าพรรษา

ชื่ออื่นๆ : กล้วยจะก่าหลวง ข่าเจ้าคุณวินิจ (ทั่วไป) ว่านสาวหลง (ภาคกลาง), เข้าพรรษา (อุบลราชธานี สระบุรี), กลางคาน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เทียนพรรษา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Globba winitii C.H. Wright

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของเข้าพรรษา

ต้นหงส์เหิน’ หรือ ‘ต้นเข้าพรรษา’ เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวประเภทเหง้าแบบมีรากสะสมอาหาร คล้ายรากกระชาย ส่วนของลำต้นเหนือดิน คือ กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน เกิดเป็นกลุ่มกอ สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถว ส่วนดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม ช่อดอกมีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ ประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก มีสีเหลืองสดใสคล้ายรูปตัวหงส์กำลังเหินบิน มีกลีบประดับขนาดใหญ่ตามช่อโดยรอบจากโคนถึงปลาย และสีของกลีบประดับมีหลายสี เช่น ขาว ม่วง เขียว และแดง

เข้าพรรษา
เข้าพรรษา ใบเดี่ยวเรียงสลับ กลีบดอกสีเหลือง กลีบประดับมีสีม่วง

การขยายพันธุ์ของเข้าพรรษา

ใช้กิ่ง/ลำต้น/

ธาตุอาหารหลักที่เข้าพรรษาต้องการ

ประโยชน์ของเข้าพรรษา

ยามเมื่อฤดูกาลเข้าพรรษาเวียนมาถึง ดอกไม้ชนิดหนึ่งก็เริ่มผลิดอกบานสะพรั่ง ผู้คนต่างพากันเก็บมาถวายพระจนก่อเกิดเป็น ประเพณี “ตักบาตรดอกไม้” ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

สรรพคุณทางยาของเข้าพรรษา

สำหรับคำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ ซึ่งสามารถใช้ได้โดยทั่วไป มีดังนี้

อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา

คุณค่าทางโภชนาการของเข้าพรรษา

การแปรรูปของเข้าพรรษา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11790&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment