เครือส้มลม
ชื่ออื่นๆ : เครือส้มลม (อุบลราชธานี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ส้มลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganonerion polymorphum Pierre ex Spire
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของเครือส้มลม
ต้น ไม้เถา เลื้อยพัน 3 – 4 เมตร มีน้ำยางสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2.9 – 4.8 มิลลิเมตร
ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปรี (elliptic) กว้าง 2.0 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 5.1 – 7.2 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.6 – 1.6 เซนติเมตร ใบนุ่มสีเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ (entire) ไม่มีขน
ดอก ออกดอกที่ยอดหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อย 3 – 5 ดอก กลีบเลี้ยงมีสีแดงแกมชมพูมี 5 กลีบ โคนกลีบตัดกัน และมีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูหรือสีบานเย็น โคนกลีบดอกติดกัน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
ผล ผลยาวได้ประมาณ 20 ซม. เกลี้ยง เมล็ดเรียวยาว ยาวประมาณ 1 ซม. ขนกระจุกยาว 1.5-3 มม.
การขยายพันธุ์ของเครือส้มลม
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เครือส้มลมต้องการ
ประโยชน์ของเครือส้มลม
ใบและผลส้มลมมีรสเปรี้ยว สามารถรับประทานเป็นผักสด กับน้ำพริก ป่น หรือแจ่ว
สรรพคุณทางยาของเครือส้มลม
ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้ส่วนของรากต้มน้ำดื่มมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการกล้ามเนื้อท้องเกร็ง ช่วยขับลม หรือเข้าตำรับยารวมกับสมุนไพรอื่นๆ ต้มน้ำดื่ม รักษาอาการปวดเมื่อย และรักษาอาการปัสสาวะขัดได้ หรือใช้รากส้มลม รวมกับรากต้างไก่ใหญ่ เป็นยาต้มดื่มน้ำรักษาโรคม้ามโต (นายวันดี ยิ้มกระจ่าง: ยาพื้นบ้านอีสาน) ส่วนเมล็ดจะมีขนยาว สีขาว มีลักษณะอ่อนนุ่ม ซึ่งนกหลายชนิด เช่น นกสีชมพูสวน จะใช้สร้างรังสำหรับฟักไข่ ในฤดูวางไข่
คุณค่าทางโภชนาการของเครือส้มลม
การแปรรูปของเครือส้มลม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11821&SystemType=BEDO
www.flickr.com