เคี่ยมคะนอง
ชื่ออื่นๆ : เคี่ยมคะนอง, เคี่ยม (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี) เคียนทราย (ประจวบคีรีขันธ์, ภาคใต้) ชันรุ่ง, สยา, สายา (สงขลา) เชื่อม (สระบุรี, นครราชสีมา) พนอง (ชลบุรี)
ต้นกำเนิด : พบในป่าดิบผลัดใบ ป่าดิบ ป่าไผ่ ที่ระดับความสูงถึง 500 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea henryana Pierre
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะของเคี่ยมคะนอง
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแน่น มีสีออกเหลือง ลำต้นกลม มีพูพอนใหญ่ตามอายุ มักมีส่วนเจริญคล้ายหนาม เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงน้ำตาลเข้ม หนาแตกเป็นแผ่นและเกล็ด ไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีน้ำตาลอมส้มอ่อน
ใบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้า 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียมแหลมกว้าง ยอดบาก โคนทู่หรือกลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อน มีเกล็ดเล็กชมพูปนกับขนสั้นสีดำ ใบแก่คล้ายแผ่นหนัง ด้านหลังมีนวล มีสีเขียวอมเทาอละมีกระจุกขนสั้นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีตุ่มใบ หูใบรูปขอบขนานแคบ ค่อนข้างติดทน
ดอก ดอกเป็นช่อเล็กเรียวห้อยลง ยาวถึง 11 เซนติเมตร ดอกสีขาวถึงครีม มีแต้มสีเหลืองด้านใน ส่วนมากจะออกเป็นกลุ่มไปยังปลายกิ่ง มีขนคล้ายเกล็ด มีใบประดับชัด ตาดอกรูปรี กลีบดอกรูปขอบขนาน บิดเป็นเกลียวไม่เชื่อมติดกันที่ฐาน
ผล ผลเป็นปีก ปีกยาว 3 ปีก กว้างถึง 1.5 เซนติเมตร ยาวถึง 9 เซนติเมตร คล้ายแถบ ปลายทู่หรือกลม อีก 2 ปีกสั้น รูปขอบขนานแคบ กว้างถึง 0.7 เซนติเมตร ยาวถึง 2.2 เซนติเมตร ปลายเรียว เกลี้ยง โคนปีกหุ้มผลมิด มีเกล็ดเป็นขุยเกลี้ยง
การขยายพันธุ์ของเคี่ยมคะนอง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่เคี่ยมคะนองต้องการ
ประโยชน์ของเคี่ยมคะนอง
- ทำแบบหล่อคอนกรีต ลังใส่ของ ต่อเรือ ทำแจว พาย และใช้ในการก่อสร้างต่างๆ
- ต้นไม้หายาก
สรรพคุณทางยาของเคี่ยมคะนอง
คุณค่าทางโภชนาการของเคี่ยมคะนอง
การแปรรูปของเคี่ยมคะนอง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : FB เครือข่ายต้นไม้ 5 ภูมิภาค, https://greenarea.deqp.go.th/, www.vdokasetnana.com
ภาพประกอบ : FB เครือข่ายต้นไม้ 5 ภูมิภาค, FB สมบูรณ์จัดหาพันธุ์ไม้ www.youtube.com
เคี่ยมคะนอง ต้นไม้หายาก สามารถปลูกขายคาร์บอนเครดิตได้