เงาะโรงเรียน เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ เนื้อขาวใส มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม

เงาะโรงเรียน

ชื่ออื่นๆ : เงาะ, เงาะโรงเรียน

ต้นกำเนิด : ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ชื่อสามัญ : Maharlika Rambutan,Ripe rambutan

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium lappaccum Linn

ชื่อวงศ์ : Sapindaceae

ลักษณะของเงาะโรงเรียน

ต้นเงาะ เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น ลำต้นเจริญตั้งตรงและแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มเปลือกแข็งสีเทาแก่ปนน้ำตาล

ใบ ใบเป็นลักษณะใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย 2-4 คู่ การเรียงของใบย่อยเรียงสลับกัน รูปร่างของใบเป็นรูปยาวรีใบสีเขียวเข้มเป็นมัน

ต้นเงาะ
ต้นเงาะ เปลือกแข็งสีเทาแก่ปนน้ำตาล

ดอก ดอกขนาดเล็กมีขนอ่อนปกคลุม ก้านดอกสั้นและตรง มีสีเขียวปนเหลือง ออกดอกเป็นช่อโดยออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีกากีแกมเขียว ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น

ผลเงาะ เป็นผลเดี่ยวรวมกันเป็นช่อ ช่อหนึ่งๆ มีประมาณ 10-12 ผล ผลมีลักษณะคล้ายรูปไข่ ผลเงาะเมื่อสุกจะมีสีแดง เหลือง หรือสีส้มปนเหลือง และมีขนอ่อนนุ่ม ผลเนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลืองรสหวาน เมล็ดรูปร่างแบนยาวเป็นรูปไข่หรือรูปรี เป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน

เงาะในฤดูกาลปกติจะเริ่มออกสู่ตลาด ในระหว่างช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ที่สุด คือ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน สำหรับภาคใต้ เงาะในฤดูกาล ตามปกติจะเริ่มออกสู่ตลาดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม

ใบเงาะ
ใบเงาะ ใบเป็นรูปยาวรีใบสีเขียวเข้มเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของเงาะโรงเรียน

ใช้เมล็ด

เงาะเป็นไม้ผลเมืองร้อนจัดเป็นพืชเศรษฐกิจพื่ชหลักของประเทศไทยมากรปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกและภาคใต้อของประทศเงาะมีหลายสายพันธุ์ได้แก่ เงาะสีชมพู เงาะโรงเรียน และเงาะพื้นเมือง ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ เงาะโรงเรียน ที่มีรสชาติของเนื้อผล หวานกรอบ

วิธีการปลูก ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก

ระยะปลูก จำนวนการปลูกประมาณ 25 – 40 ต้นต่อไร ในระยะปลูก 6 – 8 X 6 – 8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิดไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น ปลูกในเดือนเมษายน

การดูแลรักษา ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ½ ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต

ธาตุอาหารหลักที่เงาะโรงเรียนต้องการ

ประโยชน์ของเงาะโรงเรียน

เงาะเป็นไม้ผลเพื่อบริโภคผลสดและเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระป๋อง และเงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเกือบทุกปี (เนื่องจากช่วงฤดูกาลผลิตเงาะค่อนข้างสั้น ในช่วงเวลากลางฤดูจะมีผลผลิตมากกว่า 50 % ออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน) แต่เงาะก็ยังจัดเป็นไม้ผลที่ทำรายได้ดีอีกพืชหนึ่ง

เปลือกเงาะส่วนใหญ่จะถูกทิ้งหรือนำไปทำเป็นปุ๋ยแต่คุณสมบัติของเปลือกเงาะจะมีแทนนินและยางอยู่ สังเกตได้เมื่อปลอกเปลือกเงาะออกยางจะติดที่เล็บหรือมีดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำหรือม่วงดำ จากคุณสมบัติข้อนี้จึงทดลองนำมาย้อมสีเส้นไหมปรากฏว่าได้ผลดี โดยใช้เปลือกเงาะสดมาหั่นหรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ เปลือกสด 15 กิโลกรัม นำมาต้มกับน้ำเพื่อสกัดสีโดยใช้อัตราส่วน 1:2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาแช่ในน้ำโคลน วันละ 7-8 ชั่วโมง นาน 3 วัน ควรกลับเส้นไหมย่อยๆ และไม่ควรแช่เส้นไมหค้างคืน หลังจากแช่น้ำโคลนแล้วในว้นแรก ล้างเส้นไหมให้สะอาดผึ่งไว้ในที่ร่มแล้วนำมาแช่โคลนในวันที่ 2 และ3 อีก หลังจากนั้นนำหม้อโคลนที่มีเส้นไหมแช่อยู่มาย้อมต่อที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที สีเนไหมที่ได้จะเป็นสีดำ ใหล้เคียงกับการย้อมด้วยมะเกลือ

ผลเงาะ
ผลเงาะ ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลสุกผิวเปลือกมีสีแดง

สรรพคุณทางยาของเงาะโรงเรียน

  • เงาะมีอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก แก้อักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคบิด แก้ท้องร่วง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยป้องกันหวัด
  • ช่วยบำรุงกระดูก
  • ช่วยบำรุงฟัน
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยขับของเสีย
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล

ข้อควรระวัง ถ้ารับประทานมากไป ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาการท้องผูกได้

เนื้อเงาะ
ผลมีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ เนื้อขาวใส มีเมล็ดอยู่ข้างในเนื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของเงาะโรงเรียน

คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ 100 กรัม พลังงาน 82 กิโลแคลอรี

  • คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
  • เส้นใย 0.21 กรัม
  • ไขมัน 0.65 กรัม
  • โปรตีน 2.5 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.013 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.022 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 1.352 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.02 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม
  • ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม
  • ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเงาะโรงเรียน

สามารถนำไปแปรรูปเป็น เงาะกระป๋อง เงาะในน้ำเชื่อม  เงาะอบแห้ง เงาะอบกรอบ เงาะกวน ไวน์และไอศครีม เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11102&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

5 Comments

Add a Comment