เงี่ยงปลาดุก ผลสดมีรสเปรี้ยวอมหวานรับประทานได้

เงี่ยงปลาดุก

ชื่ออื่นๆ : หนามเงี่ยงดุก (อุบลราชธานี), เงี่ยงดุกเล็ก เงี่ยงดุกน้อย เงี่ยงปลาดุก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เงี่ยงดุก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canthium berberidifolium Geddes

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของเงี่ยงปลาดุก

ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ตามกิ่งและลำต้นมีหนามแหลม กิ่งก้านมักโน้มลง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกลับถึงรูปไข่ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร หลังใบสีเขียวสด เข้มเป็นมัน มีขนประปราย ปลายใบมน ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลสด รูปทรงกลม เริ่มแรกสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดงสดตามลำดับ เมล็ดแข็ง ผลแก่สีส้ม ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ผลสดมีรสเปรี้ยวอมหวานรับประทานได้

เงี่ยงปลาดุก
หลังใบสีเขียวสด เข้มเป็นมัน มีขนประปราย

การขยายพันธุ์ของเงี่ยงปลาดุก

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เงี่ยงปลาดุกต้องการ

ประโยชน์ของเงี่ยงปลาดุก

สมุนไพร,ราก เป็นยาสมุนไพรสมานเเผลในกระเพาะอาหาร

สรรพคุณทางยาของเงี่ยงปลาดุก

ราก เป็นยาสมุนไพรสมานเเผลในกระเพาะอาหาร
ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ราก ฝนน้ำกินแก้ฝีในท้อง (วัณโรค)

ลำต้นเงี่ยงปลาดุก
เปลือกสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของเงี่ยงปลาดุก

การแปรรูปของเงี่ยงปลาดุก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11824&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment