เชอรี่ไทย ผลสุกสีส้ม ส้มอมเหลือง มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด

เชอรี่ไทย

ชื่ออื่นๆ : อะเซโลรา, เชอรี่

ต้นกำเนิด : ประเทศตรินิแดด คูรากัว มาการิกา และดินแดนในแถบ ทางตอนเหนือ ของทวีปอเมริกา

ชื่อสามัญ : Barbados cherry 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malpighia glabra Linn.

ชื่อวงศ์ : Malpighiaceae

ลักษณะของเชอรี่ไทย

ต้น  เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านใบหรือไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็กไม่ทิ้งใบ สูงประมาณ 2 – 5 เมตร

ใบ  เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นค่อนข้างกลม ปลายใบ แหลม ใบด้านบนสีแก่ด้านท้องใบสีอ่อน

ดอก  ออกดอกเป็นช่อ 3 – 5 ดอกต่อช่อ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.3 เซ็นติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ  ทั้งสีขาวและสีชมพู กลีบดอกหยักชมพูเข้ม

ผล  รูปร่างกลมห้อยลง แยกออกเป็น 3 พูใหญ่ เมื่อยังดิบผิวผลสีเขียวอ่อน เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลนิ่ม มีเมล็ดแข็งๆ 1 เมล็ด เมื่อเริ่มแก่เป็นสีเขียวใส หรือเขียวปนขาวหรือปนเหลือง เมื่อแก่จัดเป็นสีส้ม ส้มอมเหลือง สีสดสวยเมื่อสุกงอม สีผลเป็นสีแดงเข้มหรือแดงคล้ำ มีกลิ่นหอม เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด ออกผลช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

 เมล็ด  แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด

ต้นเชอรี่ไทย
ต้นเชอรี่ไทย ไม้พุ่ม ใบค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม
ดอกเชอรี่
ดอกเชอรี่ ดอกสีชมพูเข้ม กลีบดอกหยัก
ผลเชอรี่ไทย
ผลเชอรี่ไทย ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีแดง

การขยายพันธุ์ของเชอรี่ไทย

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เชอรี่ไทยต้องการ

ประโยชน์ของเชอรี่ไทย

  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคโลหิตจาง
  • มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยล้างพิษและขับของเสียออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี  
  • รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย และทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
ผลเชอรี่สุก
ผลเชอรี่สุก ผลแก่จัดเป็นสีส้ม ส้มอมเหลือง

สรรพคุณทางยาของเชอรี่ไทย

คุณค่าทางโภชนาการของเชอรี่ไทย

มีวิตามินซี สูงถึง 2,000 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเชอรี่ไทย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11647&SystemType=BEDO
www.natres.psu.ac.th

Add a Comment