เซียนท้อ
ชื่ออื่นๆ : ลูกท้อพื้นบ้าน (ราชบุรี) ท้อเขมร (ปราจีนบุรี) ทิสซา (เพชรบูรณ์) เซียนท้อ, เขมา, ละมุดเขมร, ละมุดสวรรค์, หมากป่วน, โตมา (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก)
ชื่อสามัญ : ม่อนไข่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouteria campechiana (Kunth) Baehni
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะของเซียนท้อ
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาว ๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล
ใบ ใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 11.25-28 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ใบเป็นมันและบาง
ดอก ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม
ผล ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน เปลือกผลบาง เนื้อในผลเป็นสีเหลืองสดน่ารับประทาน เนื้อมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแป้งทำขนม เนื้อนิ่มคล้ายกับไข่แดง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Egg fruit) ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ และมีลักษณะเป็นรูปรีสีดำ หรือ ออกนำตาล รสหวาน ให้ผลผลิตได้ในเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน
การขยายพันธุ์ของเซียนท้อ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เซียนท้อต้องการ
ประโยชน์ของเซียนท้อ
- ผลม่อนไข่นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด เห็นว่าอร่อยนัก ชาวฟลอริดานิยมรับประทานร่วมกับเกลือ พริกไทย มายองเนส หรือน้ำมะนาว
- นอกจากผลจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมได้อีก เช่น แพนเค้ก แยม คัสตาร์ด ทาร์ต ใช้อบให้สุก หรือนำมาใช้ผสมกับนมหรือโยเกิร์ต เป็นต้น
- เนื้อไม้ของต้นม่อนไข่มีความละเอียดและแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้กระดานหรือใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ได้
สรรพคุณทางยาของเซียนท้อ
- เปลือกของต้นม่อนไข่ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ตัวร้อน (เปลือกต้น)
- ผลสุกใช้รับประทาน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
- เมล็ดใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย (เมล็ด)
- ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของเซียนท้อ
คุณค่าทางโภชนาการของม่อนไข่ ต่อ 100 กรัม พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 1.68 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 36.69 กรัม
- ไขมัน 0.13 กรัม
- เส้นใย 0.10 กรัม
- น้ำ 60.6 กรัม
- เถ้า 0.90 กรัม
- แคโรทีน (โปรวิตามินเอ) 0.32 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 3.72 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 58.1 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 26.5 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 37.3 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.92 มิลลิกรัม
- ทริปโตเฟน 28 มิลลิกรัม
- เมไธโอนีน 13 มิลลิกรัม
- ไลซีน 84 มิลลิกรัม
การแปรรูปของเซียนท้อ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : หนังสือผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน (นิดดา หงส์วิวัฒน์และทวีทอง หงส์วิวัฒน์). “ม่อนไข่หรือทิสซา“, www.flickr.com
ผลม่อนไข่ หรือ เซียนท้อ ให้พลังงานสูงพอๆ กับ ทะเรียนกระดุมทอง หรือ ทุเรียนชะนีเลยทีเดียว
ผลม่อนไข่ หรือ เซียนท้อ ให้พลังงานสูงกว่า บัวหิมะ เกือบสามเท่า