เดือยไก่ ไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลสุกทานเป็นผลไม้ รสหวานอมเปรี้ยว

เดือยไก่

ชื่ออื่นๆ :  ติดต่อ, เดือยไก่, ตีนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่ระดับความสูง 150-300 เมตร

ชื่อสามัญ : โปร่งกิ่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dasymaschalon lomentaceum

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะของเดือยไก่

ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนสีเขียว มีช่องอากาศสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว

ใบ  เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปรวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวทู่ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างเป็นสันนูนเด่น เส้นแขนงใบ 7-11 คู่ เห็นไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 4 มิลลิเมตร

ดอก  ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีขาวอมเขียว ดอกบานสีเขียวแกมเหลือง แล้วหลุดร่วงลงไปทั้งกรวย ก้านดอกยาว 5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปไข่ กว้างและยาว 3 มิลลิเมตร กลีบดอกติดกันเป็นกรวย ยาว 2-3 เซนติเมตร โคนดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1 เซนติเมตร ปลายกรวยมน

ผล  ออกเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยเป็นผลสด รูปทรงกระบอกยาว ก้านช่อผลยาว 5 มิลลิเมตร มีเมล็ดมี 2-5 เมล็ด เรียงชิดติดกัน เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ด 2-4 ข้อ แต่ไม่คอดถึงกลางผล ผลอ่อนสีเขียวอมขาว ผลแก่สีแดงสด ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ติดผลราวเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

เดือยไก่
เดือยไก่ ใบหอกหรือรูปรีด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีนวล
ผลเดือยไก่
ผลเดือยไก่ ผลออกเป็นกลุ่ม ผลแก่สีแดงสด ก้านช่อยาว

การขยายพันธุ์ของเดือยไก่

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เดือยไก่ต้องการ

ประโยชน์ของเดือยไก่

  • ผลสุกสีแดง รสหวานอมเปรี้ยว กินเป็นผลไม้
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ทรงพุ่ม

สรรพคุณทางยาของเดือยไก่

ตำรายาไทย ลำต้น ผสมลำต้นพีพ่าย และลำต้นกันแสง ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก

คุณค่าทางโภชนาการของเดือยไก่

การแปรรูปของเดือยไก่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11294&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

One Comment

Add a Comment