เดื่อปล้องหิน ใบนำไปตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา ผลสุกทานได้

เดื่อปล้องหิน

ชื่ออื่นๆ : เดื่อปล้องหิน (ใต้) นอด (น่าน) มะค่าขน (เชียงใหม่) มะเดื่อขน (เชียงราย,นครศรีธรรมราช) มะน้อดกว๊าย (เชียงใหม่) แม่นอน (ยะลา)

ต้นกำเนิด : พบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ริมลำธาร ความสูงถึงประมาณ 1600 เมตร

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus semicordata Buch.-Ham. ex Sm.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของเดื่อปล้องหิน

ต้น  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว กิ่งอ่อนเป็นข้อปล้อง มีขนสีน้ำตาล ปลายยอดมีหูใบ รูปรี ยาว 1.5 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีเรียงขอบขนาน มีขนสากคายทั้งสองด้าน ขนาดกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร โคนใบเว้าด้านหนึ่งคล้ายติ่งหู ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ก้านใบยาว 2 เซนติเมตร

ดอก  ดอก ออกเป็นช่อลักษณะเป็นสายยาวจากโคนต้น มีรูปร่างคล้ายผล ส่วนฐานรองดอกเจริญเป็นกระเปาะกลม สีเขียวอมน้ำตาล ผิวมีรอยแผลระบายอากาศกระจายทั่วไปภายในผลเป็นดอกแยกเพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ อยู่อัดกันแน่น ออกดอกตลอดทั้งปี

ผล  ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดง ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร

เดื่อปล้องหิน
เดื่อปล้องหิน ใบเดี่ยวรูปรี ใบมีขนสากทั้งสองด้าน
ผลเดื่อปล้องหิน
ผลเดื่อปล้องหิน ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกผลสีแดง

การขยายพันธุ์ของเดื่อปล้องหิน

ธาตุอาหารหลักที่เดื่อปล้องหินต้องการ

ประโยชน์ของเดื่อปล้องหิน

  • ผลแก่รับประทานได้ มีรสหวาน
  • ใบ นำไปตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา
  • ลำต้น ใช้ทำฟืน

สรรพคุณทางยาของเดื่อปล้องหิน

คุณค่าทางโภชนาการของเดื่อปล้องหิน

การแปรรูปของเดื่อปล้องหิน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11479&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment