เตย ใบเตยมีกลิ่นหอม พืชใช้แต่งกลิ่นอาหาร

เตย ใบเตยมีกลิ่นหอม พืชใช้แต่งกลิ่นอาหาร

ชื่ออื่นๆ : ภาคกลาง เตย/ต้นเตย/ใบเตย (ทุกภาค), เตยหอม เตยหอมใหญ่ เตยหอมเล็ก, ภาคเหนือ หวานข้าวใหม้, ภาคใต้ และแถบมลายู ปาแนะวองิง ปาแง๊ะออริง ปาแป๊ะออริง, จีน พังลั้ง

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย มาเลเซีย

ชื่อสามัญ : เตย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius

ชื่อวงศ์ : Pandanaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Pandan Leaves

เตย ใบเตยมีกลิ่นหอม พืชใช้แต่งกลิ่นอาหาร
ต้นเตย

ลักษณะของเตย

ลำต้น เตยหรือเตยหอม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร

ใบ ใบเตย แตกออกเป็นใบเดี่ยวด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY

ดอก เตยหรือเตยหอมเป็นพืชไม่ออกดอก

การขยายพันธุ์ของเตย

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/

ธาตุอาหารหลักที่เตยต้องการ

ประโยชน์ของเตย

  • นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทขนมไทยโดยจะให้กลิ่นหอมและสีเขียวจากธรรมชาติ
  • ต้มดื่มเป็นน้ำหวานได้
  • ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่น
  • ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • ใบนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Fragrant Screw Pine ให้กลิ่นหอมอ่อนๆ มีประโยชน์ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง และยา
  • สารสกัดจากใบเตยนำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่
  • ใบเตยสดนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม
  • น้ำมันหอมระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาปรับอากาศ
  • สารสกัดจากใบเตยนำไปเคลือบข้าวสารที่ไม่มีกลิ่นหอม หลังจากนำมาหุงแล้วจะช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้
  • สารสกัดจากใบเตยใช้เป็นสารป้องกันการหืนของอาหาร น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
  • สารสกัดจากใบเตยใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว
  • น้ำคั้นใบเตยนำมาผสมทำแซมพู สบู่ หรือ ครีมนวด
  • น้ำมันหอมระเหยใบเตยใช้เป็นส่วนผสมทางยา
  • ใบเตยสดนำมามัดเป็นกำ ใช้ขัดถูพื้น ช่วยให้พื้นเงางาม และมีกลิ่นหอม
  • ใบเตยสด นำมามัดรวมกับดอกไม้อื่นๆ ใช้สำหรับถวายหรือบูชาพระ

สรรพคุณทางยาของเตย

  •  แก้อาการเป็นไข้
  • ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บหรือหลังจากการหายป่วย
  • แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • แก้อ่อนเพลีย
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงหัวใจ ชูกำลัง
  • ดับพิษไข้
  • รักษาโรคหัด
  • รักษาโรคสุกใส
  • แก้โรคผิวหนัง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
  • แก้อาการท้องอืด
  • ลดความดันเลือด
  • ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย

  • แก้อาการหน้าท้องเกร็ง
  •  แก้ปวดตามข้อ และกระดูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดหัว
  • แก้โรคลมชัก
  • ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

ราก และลำต้นเตย

  • ใช้บำรุงหัวใจ
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ
  • แก้ขับเบาพิการ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต
  • แก้หนองใน
  • แก้พิษโลหิต
  • แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • แก้ตานซางในเด็ก
เตย ใบเตยมีกลิ่นหอม พืชใช้แต่งกลิ่นอาหาร
ใบเตย

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

  • พลังงาน : 35 กิโลแคลอรี่
  • น้ำ : 85.3 กรัม
  • โปรตีน : 1.9 กรัม
  • ไขมัน : 0.8 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 4.9 กรัม
  • เส้นใย : 5.2 กรัม
  • เถ้า : 1.9 กรัม
  • แคลเซียม : 124 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส : 27 มิลลิกรัม
  • เหล็ก : 0.1 มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน : 2987 ไมโครกรัม
  • วิตามิน A : 498 RE
  • ไทอามีน : 0.20 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน : 1.2 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน : 3 มิลลิกรัม
  • วิตามิน C : 100 กรัม

การแปรรูปของเตย

ใบเตยนำมาบด และคั้นแยกน้ำ ก่อนนำไปผสมทำขนมหรือของหวานต่างๆ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมชั้น เป็นต้น เนื่องจากให้สีเขียวสด และให้กลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับเตย

References : www.bedo.or.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

6 Comments

Add a Comment