เต่ารั้ง เต่าร้าง
ชื่ออื่นๆ : เขืองหมู่ (ภาคเหนือ) เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง) เต่ารังแดง (นครศรีธรรมราช) มะเด็ง (ยะลา)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm,Tufted Fishtail Plam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ลักษณะของเต่ารั้ง เต่าร้าง
ปาล์มชนิดแตกกอ สูง 3-12 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-15 ซม. มีลักษณะกลมเป็นปล้อง กาบใบมีใยคล้ายตาข่ายหุ้มลำต้น
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเวียนสลับ กว้าง 100-150 ซม. ยาว 150-27ซม ใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมและกว้าง 8-15 ซม. ยาว 15-30 ซม.
ดอก สีขาวครีม ออกเป็นช่อ ตามลำต้น
ผล ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. เมื่อสุกสีแดงคล้ำถึงดำ
การขยายพันธุ์ของเต่ารั้ง เต่าร้าง
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-
ธาตุอาหารหลักที่เต่ารั้ง เต่าร้างต้องการ
ประโยชน์ของเต่ารั้ง เต่าร้าง
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อน แกงหรือต้มเป็นอาหาร รสชาติของยอดเต่าร้างจะคล้ายกับยอดมะพร้าว สามารถนํามาต้มจิ้มน้ําพริก หรือแกงได้ชาวบ้านนิยมนํามาใช้แทนยอดมะพร้าว
ต้นไม้ที่คนไทยเชื่อกันว่าจะส่งผลที่ไม่ดีแก่ผู้ปลูกนั้น มักจะมีชื่อที่ค่อนไปในทางที่ไม่ดีนัก ถือว่าเป็นอัปมงคลนาม เชื่อ กันวาหากสามีภรรยาคู่ใด ปลูกต้นเต่าร้างเอาไว้ในบ้าน ก็อาจจะต้องเลิกราหย่าร้างกันไปก็เป็นได้ เพราะชื่อเต่าร้างนั้น ก็แสดงไปในความหมาย ของ การเลิกร้าง-ร้างรา หรือหย่าร้างอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะปลูกต้นไม้ชนิดนี้ ไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อครอบครัวของคุณคุณ จะได้มีแต่ความสงบสุขตลอดไป
ด้านความเชื่อแบบล้านนาจะนำตุงกระดาษมามัดกับก้านเขือง ปักบนเจดีย์ทรายในวันเข้าวัดทำบุญในวันมหาสงกรานต์ ตามประเพณีความเชื่อแบบล้านนา
สรรพคุณทางยาของเต่ารั้ง เต่าร้าง
ราก,หัว ดับพิษตับปอด แก้กาฬขึ้นปวด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน
คุณค่าทางโภชนาการของเต่ารั้ง เต่าร้าง
การแปรรูปของเต่ารั้ง เต่าร้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10254&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com