เถาพันซ้าย คนอีสานนำใบอ่อนมาห่อขนม หรือใช้ประโยชน์แทนใบตองกล้วย

เถาพันซ้าย

ชื่ออื่นๆ : เถาทองเลื่อย (ราชบุรี), เครือเขาคู้ (ประจวบคีรีขันธ์), กวางผู้ เครือเขาผู้ ตาลานเครือ (ภาคเหนือ), จานเครือ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ถู่กุ๊โพ๊ะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เถาพันซ้าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spatholobus parviflorus (DC.)Kuntze

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ลักษณะของเถาพันซ้าย

ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่และมีมือเกาะ ยาวได้ถึง 20 เมตร

ใบ ประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยปลายรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหมอก ใบย่อยด้านข้างรูปไข่แกมสีเหลี่ยม กว้าง 6-10 ซม. ยาว 9-14 ซม.

ดอก ช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีแดงเข้ม รูปดอกถั่ว

ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน มีขนละเอียดสีนำตาล มีเม็ดเดียว

เถาพันซ้าย
เถาพันซ้าย ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของเถาพันซ้าย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เถาพันซ้ายต้องการ

ประโยชน์ของเถาพันซ้าย

คนอีสานนำใบอ่อนมาห่อขนม หรือใช้ประโยชน์แทนใบตองกล้วย

สรรพคุณทางยาของเถาพันซ้าย

ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว กระเหรี่ยงใช้ ต้น ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร กระตุ้นกำหนัด ช่วยให้มีบุตรง่าย บำรุงเลือด แก้ปวดประจำเดือน เลือดลมเดินไม่สะดวก ตำคั้้นน้ำทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด ต้มน้ำให้สตรีหลังคลอดอาบ ยาพื้นบ้านใช้ เปลือกต้น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด
เถาใช้ปรุงเข้ายา ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
ใบสดใช้ขยี้กับปูนทาพอกเป็นยารักษาแผลสด

คุณค่าทางโภชนาการของเถาพันซ้าย

การแปรรูปของเถาพันซ้าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11469&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment