เทียนกิ่ง ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง มีสรรพคุณทางยา

เทียนกิ่ง

ชื่ออื่นๆ : เทียนย้อม เทียนไม้ (ไทย) เทียนป้อม เทียนต้น (กลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : HennaHenna

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lawsonia inermis L.

ชื่อวงศ์ : Lythraceae

ลักษณะของเทียนกิ่ง

ไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวนวล แตกกิ่งก้านเล็กเป็นพุ่มกว้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงหรือสีขาว กลีบดอก 4 กลีบ ยับย่น เกสรเพศผู้มี 8 อัน เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้ง แตกได้

เทียนกิ่ง
เทียนกิ่ง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงหรือสีขาว

การขยายพันธุ์ของเทียนกิ่ง

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เทียนกิ่งต้องการ

ควรปลูกให้ห่างจากต้นไม้อื่น 2 เมตร หมั่นตัดแต่งกิ่งให้พุ่มโปร่ง

ประโยชน์ของเทียนกิ่ง

ใบใช้เป็นสีย้อม ให้สีส้ม

สรรพคุณทางยาของเทียนกิ่ง

ใบ
– มีตัวยาสำคัญชื่อลอร์โซน (Lawsone) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยากันเล็บถอด เล็บช้ำ เล็บขบ แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า แผลมีหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ
– รักษากามโรค แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับปัสสาวะ
– ในสมัยโบราณ ใช้เป็นเครื่องสำอาง พอกเล็บ เป็นยาย้อมผม ขน

ราก ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู
เปลือก  ขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน
ดอก  ใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ รักษาดีซ่าน
ผล  ใช้ขับประจำเดือน

คุณค่าทางโภชนาการของเทียนกิ่ง

การแปรรูปของเทียนกิ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10959&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

One Comment

Add a Comment