เทียนนกแก้ว เป็นพืชหายาก ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบิน

เทียนนกแก้ว

ชื่ออื่นๆ : เทียนนกแก้ว

ต้นกำเนิด : พบได้เฉพาะที่ดอยเชียงดาว ที่ความสูง 1,500-1,800 ม. จากระดับน้ำทะเล

ชื่อสามัญ : Parrot Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens psittacina Hook.f.

ชื่อวงศ์ : BALSAMINACEAE

ลักษณะของเทียนนกแก้ว

ลำต้น  อวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่

ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ

ดอก ดอกเดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ออกดอกในราวเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม

ผล เป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

เทียนนกแก้ว
เทียนนกแก้ว ดอกม่วงแกมแดงและขาว

การขยายพันธุ์ของเทียนนกแก้ว

เทียนนกแก้ว เป็นพืชหายาก ไม่ควรนำมาเพาะปลูกเอง เนื่องจากเป็นดอกไม้ป่าที่จะหาเมล็ดปลูกได้ยาก

ธาตุอาหารหลักที่เทียนนกแก้วต้องการ

ประโยชน์ของเทียนนกแก้ว

ไม้ประดับ (เมื่อนำมาปลูกในเมืองมักจะอยู่รอดได้เพียงฤดูเดียว)

สรรพคุณทางยาของเทียนนกแก้ว

คุณค่าทางโภชนาการของเทียนนกแก้ว

การแปรรูปของเทียนนกแก้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11175&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment