เทียนบ้าน
ชื่ออื่นๆ : เทียนดอก, เทียนบ้าน, เทียนสวน (ภาคกลาง) ; จึงกะฮวย, ห่งเซียง, จี๋กะเช่า, เซียงถ่ออั้ง (จีน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Garden Balsam, Rose Balsam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens balsamina
ชื่อวงศ์ : BALSAMINACEAE
ลักษณะของเทียนบ้าน
เป็นพืชล้มลุก ต้นสูง 20 – 60 ซม. ลำต้นสีเขียวอ่อน อุ้มน้ำ เนื้อใสและโปร่งแสง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบลำต้น รูปยาวเรียว โคนใบและปลายเรียวแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 2 – 3 ซม. ยาว 8 – 10 ซม. ก้านใบสั้น มีตุ่มเรียงเป็นแนวยาว 2 ข้าง
ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือออกหลายดอกอยู่รวมกัน กลีบรองดอก 3 กลีบ รูปไข่ป้อม เล็ก สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนรูปกลม ปลายเว้าเล็กน้อย กลีบข้าง 2กลีบกว้าง กลีบล่างงอเป็นกระเปาะ ก้นกระเปาะมี จงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็กๆ ยาวๆ ปลายโค้งงอขึ้นเล็กน้อย กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว ชมพู แดง หรือ หลายสีผสมกัน เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่รอบเกสรเมีย เกสรเมียมี 5 ช่อง ปลายท่อเกสรเมียมี 5 แฉก
ผล รูปไข่ หรือ รูปรี มีขนสีขาว แก่จัดจะแตกเป็นริ้วๆ ตามยาวของผลและม้วนขมวด แต่ละช่องมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดกลม สีน้ำตาล กว้าง ยาว ประมาณ 2 – 3 มม.
การขยายพันธุ์ของเทียนบ้าน
ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดหยอดลงในดินลึก 2 – 3 กลบดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เมื่อต้นงอกแล้วยาวพอสมควร ให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกเหลือเพียง 1 – 2 ต้นต่อหลุม
ธาตุอาหารหลักที่เทียนบ้านต้องการ
เทียนบ้านเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดอ่อน ควรปลูกในที่ร่มรำไร ถ้าปลูกไว้ในที่แสงแดดจำเป็นต้องรดน้ำบ่อยครั้ง
ประโยชน์ของเทียนบ้าน
ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบสดนำมาต้มกับน้ำใช้สระผม จะช่วยบำรุงผม ทำให้ผมดกดำได้
น้ำคั้นจากใบสดสามารถนำมาใช้ย้อมสีผมได้ แต่เวลาใช้ต้องระมัดระวังไม่ให้สีติดตามเสื้อผ้าและร่างกาย
สรรพคุณทางยาของเทียนบ้าน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ กับ เมล็ด ใช้รักษาฝี แผลพุพองและเล็บขบ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียดนำมาพอกบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง
ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว ตำพอกเล็บขบ และปวดตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน
วิธีใช้ : ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ 1 กำมือ ตำละเอียดพอกฝี หรือคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพองวันละ 3 ครั้ง
คุณค่าทางโภชนาการของเทียนบ้าน
การแปรรูปของเทียนบ้าน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11176&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com