เผือก
เผือก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย แอฟริกา และในหมู่เกาะในอเมริกากลาง สำหรับ ประเภทของเผือก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเอดโด ( eddoe ) และ ประเภทแดชีน ( dasheen ) สำหรับ เผือกในเมืองไทย นิยมปลูกกัน 4 สายพันธ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไหหลำ และ เผือกตาแดง
เผือกในประเทศไทย
จากเนื้อหาข้างต้นที่กล่าวถึง สายพันธ์เผือก ในประเทศไทย มี 4 สายพันธ์ โดยรายละเอียด ดังนี้
- เผือกหอม เป็นเผือกประเภทแดซีน ( dasheen type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดของหัวใหญ่ มีกลิ่นหอม หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่ นิยมปลูกเพื่อรับประทาน และ เพื่อการค้า
- เผือกเหลือง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก เปลือกของหัวสีเหลือง ไม่นิยมนำมารับประทาน
- เผือกตาแดง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ปลายหัวจะมีสีแดง มีลูกเผือกจำนวนมาก ใบเล็ก สีแดง ไม่นิยมนำมารับประทาน
- เผือกไหหลำ เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddoe type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก หัวเผือกเป็นทรงกระบอก เรียวยาว ไม่นิยมรับประทาน
สรรพคุณทางยาของเผือก
- หัว ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาลดไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ บำรุงกระดูก ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
- ใบ รักษาบาดแผล แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- น้ำยาง ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- กาบใบ รักษาบาดแผล แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
โทษของเผือก
สำหรับการรับประทานเผือก ต้องทำให้สุกก่อน และ กำจัดยางจากเผือกก่อน หากเตรียมเผือกไม่ดีก่อนนำมารับประทาน สามารถทำให้เกิดโทษ ได้ โดย โทษของเผือก มีดังนี้
- เผือกดิบ ไม่สามารถนำมากินได้ เนื่องจาก เผือกดิบมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต เป็นพิษ ทำให้เกิดนิ่วในไต ทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และ ระบบทางเดินอาหาร
- สำหรับบางคนที่มอาการแพ้เผือก หากพบว่ามีอาการคันในช่องปาก ลิ้นชา หลังจากกินเผือก ต้องหยุดรับประทานและพบแพทย์ทันที
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10057&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
3 Comments