เผือก พืชหัวที่มีลำต้นใต้ดินสะสมอาหารเรียกว่า หัว

เผือก

ชื่ออื่นๆ : บอน (กลาง) กลาดีกุบุเฮง (มาเลย์-ยะลา) กลาดีไอย์ (มาเลย์-นราธิวาส) ทีพ้อ คีทีโบ คูชี้บ้อง คูไท ทีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตุน (เชียงใหม่) บอนจีน บอนจีนดำ (กลาง) บอนท่า บอนน้ำ (ใต้).

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Taro

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta  Schott

ชื่อวงศ์ : Aracea

ลักษณะของเผือก

ต้น เผือกเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี หัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ลำต้นสั้น

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่รูปหัวใจ ก้านใบยาว ตั้งชูเหนือพื้นดิน สีเขียวแกมม่วง ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ รากที่แตกแขนงออกไป ประกอบด้วยหัวเล็กๆหลายหัว เรียกว่าลูกเผือก

ดอก ดอกออกเป็นช่อ โดยมีลักษณะเป็นแท่ง ด้านล่าง เป็นดอกตัวเมียส่วน ด้านบนเป็นดอกตัวผู้

ผล หัวเผือกแก่เปลือกสีน้ำตาลดำ ถ้าหัว เผือก อ่อน แต่ถ้าเผือกดิบ จะมีเนื้อกรอบ โดยมีกาบหุ้มดอกสีเหลืองอมเขียวจนถึงส้ม เมื่อนำไปปรุงสุก เนื้อในจะมีสีขาวครีมอมม่วง โดย จะมีเนื้อร่วน รสชาติออกหวานนิดๆ เมล็ดมีน้อย เผือกจะมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่นเผือกตาแดง และเผือกหอมเป็นต้น

ต้นเผือก
ต้นเผือก พืชล้มลุก หัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน
หัวเผือก
หัวเผือก ผลทรงกลมและเรียวยาว มีสีน้ำตาลหรือสีดำ

การขยายพันธุ์ของเผือก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/นำเหง้ามาปลูกได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่เผือกต้องการ

ประโยชน์ของเผือก

  • เผือกรับประทานได้หลายส่วน โดยหัว หัวย่อย ไหล ใบและก้านใบเมื่อต้มสุกสามารถรับประทานได้เช่นเดียวกับบอน โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นแกง แป้งจากเผือกรับประทานทั้งเป็นอาหารหลักและอาหารว่าง ใช้ใบเผือกห่อปลาเค็มหรืออาหารอื่นก่อนนำไปนึ่ง ในฮาวายนำหัวเผือกมาต้ม ตำให้ละเอียด ปล่อยให้เกิดการหมัก กลายเป็นอาหารที่เรียกโปย
หัวเผือกดิบ
หัวเผือกเปลือกสีน้ำตาลดำ

สรรพคุณทางยาของเผือก

  1. ลำต้นนำมาตำพอกแผล
  2. ต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ
  3. หัวนำมาใช้เป็นยา ยาระบายหรือ ยาขับปัสสาวะ และ
  4. ยังช่วยขับน้ำนมในผู้หญิงที่พึ่งคลอดลูก
  5. ส่วนน้ำในก้านใบ สามารถนำมาคั้นใช้ห้ามเลือดได้
ด้านในหัวเผือก
ด้านในหัวเผือก เนื้อในจะมีสีขาวครีมอมม่วง

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

คุณค่าทางอาหารเผือก 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 117 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 8 กรัม (g)
  3. โปรตีน 1 กรัม (g)
  4. แคลเซียม 84 มิลลิกรัม (mg)
  5. ไขมัน 1 กรัม (g)
  6. ไทอะมีน 15 มิลลิกรัม (mg)
  7. ฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม (mg)
  8. ไรโบฟลาวิน 04 มิลลิกรัม (mg)
  9. น้ำ 73 กรัม (g)
  10. vitamin C 2 มิลลิกรัม (mg)
  11. ไนอาซิน 0 มิลลิกรัม (mg)

เผือกแม้จะมีประโยชน์มากเพียงใด แต่ไม่แนะนำ ให้รับประทานเผือกที่ดิบ ควรนำมาทำให้สุกก่อน ถึงจะรับประทานได้ เพราะเผือกดิบ มีผลึกแคลเซียมออกซาเลต ที่อาจก่ออาการแพ้ได้ ที่สำคัญควรรับประทานเผือก ในปริมาณที่พอดี ไม่ควรมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลเสีย ต่อร่างกายได้เช่นกัน

การแปรรูปของเผือก

นิยมนำเปลือกมาทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่นทำเป็นขนมหวาน คือ เผือกฉาบ เผือกทอด เผือกน้ำกะทิตะโก้เผือก ลูกชุบเผือก เผือกแกงบวด เผือกกวน หรือทำเป็นข้าวอบเผือกและนำมาต้มกินคู่กับสลัดก็ได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10921&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

5 Comments

Add a Comment