เร่วหอม เป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้ เฉพาะในเขตจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และอําเภอแกลง จังหวัดระยอง

เร่วหอม

ชื่ออื่นๆ : เร่วหอม, ต้นเร่วหอม

ต้นกำเนิด : แถบเปอร์เซีย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera punicea (Roxb.) R.M. Smith

ชื่อวงศ์ : Zingiberraceae

ลักษณะของเร่วหอม

ต้น เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับ กระวาน ขิง ข่า เร่ว ที่มีลำต้นและเหง้าอยู่ใต้ดิน มีลำต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นสาก สีเขียวอมแดง ส่วนโคนต้นมีสีแดงเรื่อ และเหง้าใต้ดินมีสีอมชมพู มีกลิ่นหอม

ใบ ใบออกแบบสลับกัน ลักษณะของใบเรียวยาว ใบหนาสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ ขนาดของใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร

ดอก ดอกมีสีแดง ออกดอกแทงช่อแทงตรงจากเหง้า ดอกมีขนาด 2.5-4 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร

ผล ออกเป็นช่อ เปลือกผลมีขนคล้ายกับผลเงาะ มีขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มเรียงอัดกันแน่นอยู่เป็นจำนวนมาก

ต้นเร่วหอม
ต้นเร่วหอม เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน

การขยายพันธุ์ขอเร่วหอม

การเพาะเมล็ดและแยกเหง้าใต้ดิน

ธาตุอาหารหลักที่เร่วหอมต้องการ

ประโยชน์ของงิ้วป่า งิ้วผา

1. เหง้าของเร่วหอมมีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ด ช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสชาติของอาหารได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำมาบดเป็นผงสำหรับใช้เป็นเครื่องเทศผสมในการทำอาหารหลายชนิด อาทิ ผัดเผ็ด แกงป่า แกงเลียง ต้มพะโล้ และก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
2. แก่นลำต้นอ่อนหรือยอดอ่อน มีกลิ่นหอม และกรอบ นิยมใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงเลียง ผัดฉ่า และผัดเผ็ด เป็นต้น
3. รากมีกลิ่นหอม ใช้ทำหรือเป็นส่วนผสมของยาเส้น และยาหอมเย็น

เร่วหอม เป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้ เฉพาะในเขตจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และอําเภอแกลง จังหวัดระยองเป็นเร่วที่มีคุณลักษณะแตกต่างจากเร่วชนิดอื่นๆทั้งด้านกลิ่น รสชาติ และส่วนที่นํามาใช้ ประกอบอาหาร

เหง้าเร่วหอม
เหง้าเร่วหอม เหง้าสีอมชมพู มีกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของเร่วหอม

  1. เร่วหอม สรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ผล)
  2. ช่วยแก้อาการหืดไอ ไอมีเสมหะ (ผล)
  3. ผลใช้ปรุงเป็นยาขับลม (ผล)
  4. สรรพคุณเร่วหอม ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง (ผล)
  5. ใบเร่วหอม สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
  6. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ผล)
  7. เหง้าและรากเร่วหอม ใช้เป็นยาเส้น (ราก,เหง้า)
ดอกเร่วหอม
ดอกเร่วหอม ดอกมีสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของเร่วหอม

การแปรรูปของเร่วหอม

เร่วหอมแห้งนำมาใช้เป็นแท่งสำหรับคนในเครื่องดื่มร้อน ๆ เช่น กาแฟหรือชาได้ เพื่อให้มีกลิ่นหอมเช่นเดียวกับเปลือกอบเชย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10339&SystemType=BEDO
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน และ กรมอุทยานแห่งชาติ
http:// agrimark.dit.go.th
https:// th.wikipedia.org
http:// www.qsbg.org

Add a Comment