หมากเล็บแมว เล็บเหยี่ยวประโยชน์และสรรพคุณ

เล็บแมว

ชื่ออื่นๆ : เล็บแมว, ยับเยี่ยว (นครราชสีมา) ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง –เชียงใหม่) พุทราขอ, เล็ดเยี่ยว, เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง) มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ) ยับยิ้ว (ภาคใต้) สั่งคัน (สุราษฎรฝ์ธานี, ระนอง) แสงคํา (นครศรีธรรมราช)

ชื่อสามัญ : เล็บเหยี่ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ziziphus oenoplia (L.) Mill. var. oenoplia

ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE

ลักษณะของเล็บแมว

หมากเล็บแมว หรือ เล็บเหยี่ยว ชื่อเรียกอื่น เล็บแมว, ยับเยี่ยว (นครราชสีมา) ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง –เชียงใหม่) พุทราขอ, เล็ดเยี่ยว, เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง) มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ) ยับยิ้ว (ภาคใต้) สั่งคัน (สุราษฎรฝ์ธานี, ระนอง) แสงคํา (นครศรีธรรมราช) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถาและกิ่งมีหนามแหลมงอทั่วทั้งต้นเปลือกเถาสีดำเทา เปลือกในสีแดง ใบเดี่ยว รูปทรงกลมรีเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่มสั้นๆ หลังใบ สีเขียวเข้ม คล้ายใบพุทรา ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ เป็นกระจุก ผลเป็นผลกลม ผลดิบจะมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ พบทั่วทุกภาคของไทย ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าคืนสภาพ

ต้นหมากเล็บแมว
ต้นหมากเล็บแมว เถาและกิ่งมีหนามแหลม
ใบหมากเล็บแมว
ใบหมากเล็บแมว ใบรี มีขนนุ่ม หลังใบ สีเขียวเข้ม
ผลหมากเล็บแมว
ผลหมากเล็บแมว ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีดำ

ประโยชน์ของหมากเล็บแมว

  • ผลสุก รับประทานได้ ลูกสุก รสหวานอมเปรี้ยว กินสด แก้เสมหะ แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ
  • ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย

สรรพคุณทางยาของหมากเล็บแมว

สรรพคุณของสมุนไพร

ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้มดลูกพิการ แก้ฝีมุตกิด แก้ฝีในมดลูก แก้โรคเบาหวาน แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ ยาระบาย

ส่วนของพืชที่นำมาใช้ทำยา ราก เปลือกต้น

รสยา ราก เปลือกรสจืด เฝื่อนเล็กน้อย ผลรสเปรี้ยวหวานฝาดเย็น

การใช้ประโยชน์ทางยา

  • รากและเปลือกต้น นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน
  • ลำต้นใช้ผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพานควาย แก่นฝาง ข้าวหลามดง จะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง ม้ากระทืบโรง ไม้มะดูก และหัวยาข้าวเย็น ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร รากเป็นยาขับพยาธิตัวกลม รากและเปลือกต้นมีรสจืดเฝื่อนเล็กน้อย นำมาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ยาขับระดูขาวของสตรี ช่วยแก้ฝีมุตกิด และฝีในมดลูกของสตรี
  • ราก มีสรรพคุณช่วยในการย่อย และรักษาภาวะกรดเกิน
  • ราก ใช้ฝนกับน้ำเป็นยาทาแก้ฝี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11877&SystemType=BEDO
www.thaibiodiversity.org
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment