เสม็ดขาว
ชื่ออื่นๆ : เสม็ด, กือแล (มลายู-ปัตตานี) เม็ด, เหม็ด (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Cajuput tree, Milk wood,Paper bark tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca caJuputi Powell
ชื่อวงศ์ : Myrtaceae
ลักษณะของเสม็ดขาว
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-25 เมตร เปลือกสีขาวนวล เป็นแผ่นบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนา นุ่ม เปลือกชั้นในบาง สีน้ำตาล ยอดอ่อน กิ่งอ่อน และใบอ่อน มีขนสีขาวเป็นมันคล้ายเส้นไหม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบ รูปหอก กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม มีเส้นแยกออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ขนานกันและไปจรดกันที่ปลายใบ
ดอก เล็ก สีขาว ออก 1-3 ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ส่วนใหญ่ใบลดรูปลงทำให้มองดูคล้ายช่อแบบหางกระรอกที่ปลายกิ่ง
ผล ผลรูปถ้วย ปลายปิด หรือหมอน ขนาดเล็ก แป้น กว้างยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ระยะเวลาการเป็นดอก-ผล ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดทั้งปี
การขยายพันธุ์ของเสม็ดขาว
ลักษณะทางนิเวศและการกระจายพันธุ์ พบทั่วไปตามชายทะเล ในที่ลุ่มน้ำขัง ตามขอบของป่าพรุที่ถูกไฟเผาผลาญทำลายจนโล่งเตียน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ธาตุอาหารหลักที่เสม็ดขาวต้องการ
ประโยชน์ของเสม็ดขาว
- ยอดอ่อน นำมาลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด
- เนื้อไม้ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว สร้างบ้าน และเผาถ่านได้ดี
- เปลือกต้นใช้มุงหลังคา ทำฝาบ้านชั่วคราว และใช้ห่อก้อนไต้สำหรับใช้จุดไฟ
สรรพคุณทางยาของเสม็ดขาว
ใบ ตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม
คุณค่าทางโภชนาการของเสม็ดขาว
การแปรรูปของเสม็ดขาว
ใบนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9450&SystemType=BEDO
www.flickr.com