เสม็ดเเดง
ชื่ออื่นๆ : ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา) ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี) เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร, สตูล) เสม็ดเขา, เสม็ดแดง (ตราด) เสม็ดชุน (ภาคกลาง) ยีมือแล (มลายู-ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ได้แก่ หมู่เกาะสุมาตรา ชวา และเกาะบอร์เนียว พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum (Wight) S.N.Mitra var. gratum
ชื่อพ้อง : Syzygium gratum
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ลักษณะของเสม็ดเเดง
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 7 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลแดง ต้นแก่มักบิดงอ
ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม เส้นขอบใบปิด ใบอ่อนสีแดง
ดอก ดอกสีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8-12 เซนติเมตร ดอกไม่มีก้านดอก ฐานรองดอกรูปถ้วย ปากแคบ ขนาด 4-10 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปมนขนาด 1-4 มิลลิเมตร เกสรผู้จำนวนมาก ยาว 5-10 มิลลิเมตร ดอกออก กุมภาพันธุ์-เมษายน
ตาม
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ขนาด 8-12 มิลลิเมตร ผลออกเดือน มีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของเสม็ดเเดง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่เสม็ดเเดงต้องการ
ประโยชน์ของเสม็ดเเดง
- ยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด
- ปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย
- ผลเป็นอาหารของสัตว์
สรรพคุณทางยาของเสม็ดเเดง
- ใบสด ตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม
- ใบเสม็ดแดง (ผักเม็ก) มีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง การรับประทานสดหรือจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตได้
- ยอดอ่อน รับประทานสด ขับลม
คุณค่าทางโภชนาการของเสม็ดเเดง
การแปรรูปของเสม็ดเเดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9660&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com
2 Comments