เห็ดตับเต่า หมวกเห็ด สีน้ำตาลเข้มอมเหลืองอ่อน

เห็ดตับเต่า

ชื่ออื่นๆ : เห็ดผึ้ง, เห็ดเผิ่ง (ภาคอีสาน) เห็ดห้า (ภาคเหนือ) เห็ดตับเต่า (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : พบในป่าทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทยทีมีอากาศชื้น

ชื่อสามัญ : เห็ดตับเต่า, Bolete

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome )

ชื่อวงศ์ : Boletaceae

ลักษณะของเห็ดตับเต่า

หมวกเห็ดมีลักษณะมนเป็นรูปกะทะคว่ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 12-30 เซ็นติเมตร ผิวมัน เนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข้ม โคนก้านใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม ดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เมื่อดอกบานเต็มที่ กลางหมวกเว้าเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองอ่อน ปริแตกเป็นแห่งๆ ด้านล่างของหมวกมีรูกลมเล็กๆ สีเหลือง ปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อบานเต็มที่เนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวหม่น และสีเขียวหม่นอมน้ำตาล ก้านอวบใหญ่สีน้ำตาลอมเหลือง โคนก้านโป่งเป็นกระเปาะ บางส่วนนูนและเว้าเป็นร่องลึก

เห็ดตับเต่า
เห็ดตับเต่า ผิวมัน เนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ของเห็ดตับเต่า

วิธีการเพาะเห็ดตับเต่าจากเชื้อเปียกหรือเชื้อดอกเห็ด โดยเริ่มจากการเตรียมรากไม้หรือกล้าไม้ที่เป็นก้อนมาผสมลงในดินเหนียวหรือน้ำ ซึ่งดินเหนียวหรือน้ำนั้นจะต้องเป็นดินที่นำมาผสมกับเห็ดตับเต่าที่แก่แล้วมีปริมาณ20กรัม โดยใช้วิธีการตำหรือขยำให้ละเอียดคลุกเคล้าลงไปในดินให้เข้ากัน หรือจะใช้วิธีการนำกล้าไม้มาจุ่มลงในน้ำที่ผสมเชื้อเปียกก็ได้

จากนั้นก็นำมาปลูกลงดินหรือฉีดน้ำที่ผสมเชื้อลงดิน หากวางแผนให้เห็ดขึ้นอยู่บนรากต้นไม้ใหญ่ก็เพียงแค่เทน้ำผสมเชื้อเห็ดลงไปบนรากต้นไม้ใหญ่ได้เลยครับ แต่บริเวณโดยรอบนั้นจะต้องเป็นดินเหนียวด้วยเพราะเห็ดตับเต่าสามารถขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นเท่านั้น

เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติในฤดูฝนจากป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ป่าแพะ ป่าสะแก นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็ดชนิดนี้ได้ในสวนไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น สวนมะม่วง มะไฟ ลำไย สวนไม้ผลที่มีต้นทองหลาง กระถินเทพา โสน และสามารถเพาะได้

ดอกเห็ดตับเต่า
ดอกเห็ดตับเต่า หมวกเห็ดมนเป็นรูปกะทะคว่ำ

ธาตุอาหารหลักที่เห็ดตับเต่าต้องการ

ประโยชน์ของเห็ดตับเต่า

  • นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร เช่น แกงอ่อมเห็ดตับเต่า ต้มเห็ดตับเต่า ยำและผัดเห็ดตับเต่า ควรเลือกเห็ดที่มีขนาดใหญ่หรือขนาดกลางมาปรุงอาหาร เพราะจะให้รสชาติอร่อยและอ่อนนุ่มกว่า หากเป็นเห็ดตับเต่าที่มีขนาดเล็กแล้วเนื้อก็จะเหนียวไม่อร่อย
  • ใช้เห็ดตับเต่าสีดำมาย้อมผ้าได้
แกงเห็ดตับเต่า
แกงเห็ดตับเต่า เนื้อนุ่ม กรุบ

สรรพคุณทางยาของเห็ดตับเต่า

แพทย์แผนโบราณของไทยนำเอามาปรุงเป็นยา ใช้ในการรักษาโรคโดยเห็ดตับเต่าคุณสมบัติเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการบำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงปอด กระจายโลหิต ดับพิษร้อนภายในร่างกาย ยังช่วยบำบัดอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเส้นเอ็นและกระดูก ป้องกันการชักกระตุก คนจีนใช้เป็นสมุนไพร แก้เคล็ดขัดยอก และปวดกระดูก

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดตับเต่า

คุณค่าทางอาหารเมื่อรับประทานเห็ดตับเต่า 100 กรัม  จะให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี  ประกอบด้วย

  • น้ำ 92.4 กรัม
  • โปรตีน 2.5 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม
  • แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม
  • ไทอะมีน 0.06 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 2.0 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 16 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเห็ดตับเต่า

เห็ดตับเต่ามีการนำมาแปรรูปเพื่อการถนอมอาหาร ด้วยการบรรจุกระป๋อง (canning) และการทำแห้ง (dehydration)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10884&SystemType=BEDO
www.blog.arda.or.th
www.flickr.com

Add a Comment