เห็ดเผาะฝ้าย
ชื่ออื่นๆ : เห็ดเผาะ, เห็ดถอบ, หรือเห็ดดอกดิน
ต้นกำเนิด : พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
ชื่อสามัญ : เห็ดเผาะฝ้าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan
ชื่อวงศ์ : ASTRACEAE
ลักษณะของเห็ดเผาะฝ้าย
ดอกเห็ดอ่อนมีรูปร่างกลมผิวเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย ดอกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร สีของดอกเห็ดไม่เปลี่ยนแปลงคงเป็นสีขาวตลอดไปหรืออาจคล้ำลงบ้างเล็กน้อยเห็ดชนิดนี้มีเปลือก 2 ชั้น เปลือกนอกเวลาแก่จะบานออกและจะเผยให้เห็นเปลือกชั้นในที่เป็นรูปกลมสีขาวเปลือกชั้นนอกและชั้นในจะบางกว่าเห็ดเผาะทั่วไปเล็กน้อยเปลือกชั้นนอกเมื่อแห้งจะแข็งแล้วจะมีรอยแตกตามขวางมากอาจมีกลีบดอกแตกแยกมากกว่า 9 แฉก เวลาแห้งแข็งปลายปัดงอโค้งเข้าแต่ถ้าถูกน้ำก็จะงอเข้าลักษณะสปอร์กลมผิวขรุขระเป็นหนามหยาบๆ และมีสีน้ำตาลปนแดง
การขยายพันธุ์ของเห็ดเผาะฝ้าย
มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน
ธาตุอาหารหลักที่เห็ดเผาะฝ้ายต้องการ
–
ประโยชน์ของเห็ดเผาะฝ้าย
เห็ดเผาะมีประโยชน์ทางยาสมุนไพร มีรสเย็นหวาน รับประทานเป็นยาบำรุง สมรรถนะร่างกาย บำรุงไขข้อ เส้นเอ็น ประสาท มีสารต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบได้
สรรพคุณทางยาของเห็ดเผาะฝ้าย
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดเผาะฝ้าย
เห็ดเผาะ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรีและมีองค์ประกอบที่เป็น คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม ไขมัน 2.4 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม เส้นใย 2.3 กรัม น้ำ 87.8 กรัม และส่วนที่เป็นเถ้า 1 กรัม นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบที่เป็นแร่ธาตุที่ประกอบด้วย แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 85 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 3.6 มิลลิกรัม รวมทั้งองค์ประกอบที่เป็นวิตามินที่ประกอบไปด้วย ไทอามีน 0.04 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัมและวิตามินซี 12 มิลลิกรัม
การแปรรูปของเห็ดเผาะฝ้าย
เห็ดเผาะนิยมนำมา ต้ม ผัด แกง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11915&SystemType=BEDO
http://biodiversity.forest.go.th
https://www.nstda.or.th
2 Comments