เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีรูปร่างคล้ายพัด ขึ้นตามขอนไม้ งอกได้ตลอดปี

เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีรูปร่างคล้ายพัด ขึ้นตามขอนไม้ งอกได้ตลอดปี

ชื่ออื่นๆ : ภาคเหนือเรียก เห็ดแก้น เห็ดตามอด ภาคใต้เรียก เห็ดยางเพราะพบบนไม้ยางพารา ภาคกลางเรียกเห็ดมะม่วงเนื่องจากขึ้นบนไม้มะม่วง

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย

ชื่อสามัญ : เห็ดแครง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizophyllum commune Fr.

ชื่อวงศ์ : Schizophyllaceae

เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีรูปร่างคล้ายพัด ขึ้นตามขอนไม้ งอกได้ตลอดปี
เห็ดแครง

ลักษณะของเห็ดแครง

เห็ดแครง เป็นเห็ดขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายพัด (fan-shaped) ด้านฐานมีก้านขนาดสั้นๆ ยาวประมาณ 0.1- 0.5 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านติดอยู่กับวัสดุที่ขึ้นด้านข้าง ดอกเห็ดมีขนาดความกว้าง ประมาณ 1-3 เซนติเมตร ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะดอกเหนียวและแข็งแรง เมื่อแห้งด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบมีลักษณะแตกเป็นร่อง (spilt-gill) พิมพ์สปอร์มีสีขาว สปอร์มีสีใสรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาด 3-4×1-1.5 ไมครอน เนื่องจากเห็ดแครงมีขึ้นอยู่ทั่วโลก ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ลักษณะดอกเห็ดอาจแตกต่างกันในแต่ละท้องที่

การขยายพันธุ์ของเห็ดแครง

การเพาะเห็ดแครงมีขั้นตอนต่างๆ เหมือนการเพาะเห็ดถุงทั่วไป

ธาตุอาหารหลักที่เห็ดแครงต้องการ

เห็ดแครงต้องการอาหารเสริมที่เป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง เนื่องจากต้องใช้ธาตุอาหารมากในการเจริญของเส้นใยที่รวดเร็ว

ประโยชน์ของเห็ดแครง

ดอกนำมาบริโภคเป็นอาหาร เห็ดแครงเป็นเห็ดที่มีแร่ธาตุอาหารต่างๆ เป็นอาหารบำรุงร่างกายทำให้สุขภาพดี อีกทั้งมีสาร Schizophyllan ที่มีสรรพคุณในด้านการรักษาโรคต่างๆมากมาย เห็ดแครงสามารถปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น นำมาเจียวกับไข่ แกงกะทิ ห่อหมก งบเห็ดแครง ในประเทศจีนมีการแนะนำให้คนไข้ที่เป็นโรคระดูขาว รับประทานเห็ดแครงที่ปรุงกับไข่เพื่อรักษาโรค และรับประทานร่วมกับใบชาโดยต้มเห็ดแครง 9 – 16 กรัม กับน้ำกินวันละประมาณ 3 ครั้ง ใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกาย ในประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นยาเนื่องจาก พบสารประกอบพวก polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1,3 B-glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสและยับยั้งเซลมะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 37 โดยทดลองใน หนูขาวยับยั้งได้ร้อยละ 70 – 100

สรรพคุณทางยาของเห็ดแครง

  • ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดแครง

  • เห็ดแครง 100 กรัม
  • โปรตีน 17.0 กรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • แคลเซียม 90 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 280 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 640 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเห็ดแครง

เห็ดแครงสามารถทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นๆ เช่น แกงกะทิเห็ดแครงใส่หมู, แกงคั่วเห็ดแครง, เห็ดแครงหมก, ผัดเห็ดแครงใส่ไข่, ห่อหมกเห็ดแครง

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับเห็ดแครง

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : upload.wikimedia.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment