เห็ดไค ดอกใหญ่แข็งและกรอบ เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม

เห็ดไค

ชื่ออื่นๆ : เห็ดไค เห็ดหล่ม เห็ดตะไคร เห็ดหอมดิน เห็ดหอมเปา 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เห็ดตะไคล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Russula delica Fr.

ชื่อวงศ์ : –

ลักษณะของเห็ดไค

เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆส่วนมากทางภาคอีสาน เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมา

ลักษณะทางพฤกษศาตร์:
ดอกเห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง

เห็ดไค
เห็ดไค ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา

การขยายพันธุ์ของเห็ดไค

ใช้ส่วนอื่นๆ/เห็ดตะไคลพบได้ท้องถิ่นตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน เหนือ

ธาตุอาหารหลักที่เห็ดไคต้องการ

ประโยชน์ของเห็ดไค

วิธีทำซุปเห็ดไค หรือ แจ่วเห็ดไค
1. นำเห็ดไคมาล้างให้สะอาด แกะดินออกให้หมดนะ ไม่งั้นจะได้กินทรายที่ติดมากับเห็ด มันสิเข็ดแข่ว
2. นำเห็ดไปย่างไฟให้สุดพอเหลืองๆ (อาจเกรียมขอบเล็กน้อย)
3. นำพริกขี้หนูสดๆ เผาไฟให้สุกพอหอม
4. โขลกพริกขี้หนูให้ละเอียด เสร็จแล้วนำเห็ดไคที่ย่างไฟเตรียมไว้ลงไปโขลกให้ละเอียดด้วยเช่นกัน
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า, น้ำปลาร้า, แป้งนัว (แป้งนัว = ผงชูรส)(บางสูตรอาจใส่เนื้อปลาช่อนไปด้วย)
6. ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆ ลวกผัก และผักสดต่างๆ

สรรพคุณทางยาของเห็ดไค

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดไค

การแปรรูปของเห็ดไค

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11913&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment