ผักเลียบ ปลูกให้ร่มเงา  ยอดอ่อนนำมาแกงหรือทานเป็นผักสด

ผักเลียบ

ชื่ออื่นๆ : ผักฮี้ (ภาคเหนือ) ผักเลือด, ผักเลียบ (ภาคกลาง,ใต้) ผักเฮือด, ผักฮี้, ผักเฮือก

ต้นกำเนิด : พบในป่าผลัดใบผสมป่าโปร่ง ป่าแถบชายทะเล ป่าชายทุ่ง

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus superba Miq. var. japonica Miq

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของผักเลียบ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นประเภทมะเดื่อและไทรพัน  ลำต้นสูง 5-15 เมตร ต้นที่อายุมาก จะแตกพุ่มใหญ่ มีปุ่มปม กิ่งก้านมาก จะแตกใบอ่อนช่วงปลายฤดูหนาว เข้าสู่ร้อน เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม ใบอ่อน ผลิยอดใบอ่อนสีชมพู หรือสีชมพูอมเขียว

ใบ  ลักษณะคล้ายดอกจำปาตอนตูม กลมรียาวปลายแหลม มีปลอกบางๆ หุ้มเป็นกาบใบ มองดูใสโปร่งสวยงาม เด่นสะดุดตาน่าเชยชมไปทั่วทั้งกิ่งก้าน เมื่อยอดอ่อนใบอ่อนเจริญเป็นใบแก่สีเขียว เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบแก่รูปรีหรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียว ผิวใบมัน กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร มีหูใบขนาดเล็กติดโคนใบนิดๆ ดอกออกเป็นช่อ ดอกเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-0.6 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกออกตามซอกใบ ผลอ่อนสีเขียว ขนาด 1-2 เซนติเมตร เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูแดง ม่วง ม่วงอมดำ หรือดำ

ต้นผักเลียบ
ต้นผักเลียบ ไม้ยืนต้น แตกพุ่มใหญ่
ใบต้นเลียบ
ใบต้นเลียบ ใบ กลมรียาวปลายแหลม มีปลอกบางหุ้มเป็นกาบใบ

การขยายพันธุ์ของผักเลียบ

การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ผักเลียบต้องการ

เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น

ประโยชน์ของผักเลียบ

  • ปลูกให้ร่มเงา
  • ยอดอ่อนนำมาแกงใส่เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาแห้ง กินเป็นผักสด หรือนึ่งกินกับน้ำพริก ลาบหมู หรือนำมายำ

สรรพคุณทางยาของผักเลียบ

  • ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง
  • ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง
  • ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
  • เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

คุณค่าทางโภชนาการของผักเลียบ

การแปรรูปของผักเลียบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11562&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment