เอื้องตะขาบใหญ่ ลำต้นยาว ดอกสีเหลืองอ่อน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

เอื้องตะขาบใหญ่

ชื่ออื่นๆ : ก้างปลา, เกล็ดลิ่นเล็ก (อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เอื้องตะขาบใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium leonis (Lindl.) Rchb.f

ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE

ลักษณะของเอื้องตะขาบใหญ่

พบทั่วไปตามป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยที่สีของดอก และช่วงเวลามีดอก บางชนิดดอกมีกลิ่นหอมเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว แต่ที่เหมือนกันเกือบทุกสายพันธุ์ได้แก่ ใบของกล้วยไม้ในตระกูลนี้จะดูคล้ายเกล็ดปลา หรือตัวตะขาบกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวได้ถึง 25 ซม. ใบ เรียงสลับซ้ายและขวา ระนาบเดียว รูปไข่ แบนด้านข้าง ยาวประมาณ 1.7 ซม. แผ่นใบอวบน้ำ ดอก สีเหลืองอ่อน มักออกเดี่ยว ใกล้ปลายยอด บานเต็มที่กว้าง ประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง กลีบดอกขนาดเล็กกว่ามาก รูปไข่ กลีบปากรูปไข่กลับ ปลายกลีบบานโค้งลง

เอื้องตะขาบใหญ่
เอื้องตะขาบใหญ่ ลำต้นยาว ใบเรียงสลับซ้ายและขวา ระนาบเดียว

การขยายพันธุ์ของเอื้องตะขาบใหญ่

วิธีตัดแยก, การเพาะเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่เอื้องตะขาบใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของเอื้องตะขาบใหญ่

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของเอื้องตะขาบใหญ่

สรรพคุณทางยา ใช้ทั้งต้นของ “เอื้องตะขาบใหญ่” ตำพอกศีรษะแก้ปวดหัวดีนัก นำไปผสมกับต้น ต้างใหญ่ เอาทุกส่วนอย่างละนิดหน่อย กับเอื้องงูเขียวปากม่วง ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขณะอุ่น เป็นยารักษาโรคตับ โตและตับแข็งได้

ดอกเอื้องตะขาบใหญ่
ดอกเอื้องตะขาบใหญ่ ดอก สีเหลืองอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของเอื้องตะขาบใหญ่

การแปรรูปของเอื้องตะขาบใหญ่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11312&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment