เอื้องหมาก
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เอื้องหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coelogyne trinervis Lindl.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะของเอื้องหมาก
ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น ลักษณะเป็นลำ เรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulb) หัวรูปรีเรียงชิดกันเป็นกลุ่มแน่น ผิวแห้ง สีเหลืองอมเขียว มีเส้นมนตามยาว สูงประมาณ 9 ซม. กว้างประมาณ 3 ซม. ใบ รูปรี แต่ละลำมี 2 ใบ ยาวประมาณ 18-30 ซม. กว้างประมาณ 3.5-5 ซม.แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว พับจีบตามยาว ดอก เป็นช่อเกิดที่ยอดใหม่ทางด้านข้างของโคนหัวเก่า ช่อดอกยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกในช่อโปร่งแต่ละช่อมีประมาณ 4-6 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล กลีบปากสีน้ำตาลอมส้ม ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ
การขยายพันธุ์ของเอื้องหมาก
ใช้ส่วนอื่นๆ/การขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยวิธีตัดแยก · การขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยการเพาะเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่เอื้องหมากต้องการ
ประโยชน์ของเอื้องหมาก
เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของเอื้องหมาก
–
คุณค่าทางโภชนาการของเอื้องหมาก
การแปรรูปของเอื้องหมาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11308&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com