เอื้องหมายนา เอื้องเพชรม้า พืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน หน่ออ่อนนำมาทำอาหารได้

เอื้องหมายนา

ชื่ออื่นๆ : เอื้องเพชรม้า, ชู้ไลบ้อง, ชูเลโบ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (ภาคใต้) เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (นครศรีธรรมราช) เอื้องต้น (ยะลา)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : เอื้องหมายนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus speciosus (Koen.) Sm.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของเอื้องหมายนา

ต้น เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 1-3 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นกลมฉ่ำน้ำ สีแดง รากเป็นหัวโตยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 15-40 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน กาบใบอวบสีเขียว หรือสีน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น เส้นใบขนานกับขอบใบ ขอบใบเรียบ มีขนทุกส่วนของต้น ก้านใบสั้น หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนนุ่ม เนื้อใบหนา

ดอก ดอกสีขาว มี 3 กลีบ ออกที่ปลายยอด เป็นรูปปากแตร ใจกลางดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกทยอยบานทีละ 1-2 ดอก ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกบาง ย่น กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแผ่บานออกเป็นรูปปากแตร ขอบกลีบหยักเป็นลอนคลื่น บนช่อดอกมีกาบสีแดงรองรับดอกแต่ละดอก เกสรเพศผู้เปลี่ยนแปลงไปเหมือนกลีบดอกขนาดใหญ่ เป็นกรวย ปลายแผ่บานจีบน้อยๆสีขาว ปากขอบกรวยสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีแดงเข้ม เป็นแผ่นแบน 3 กลีบ ขอบมน

ผล ผลเป็นรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม แห้งแล้วแตก มีเนื้อแข็ง สุกสีแดง ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก กาบหุ้มผลสีแดง เมล็ดสีดำเปนมัน

ต้นเอื้องหมายนา
ต้นเอื้องหมายนา ลำต้นเป็นกอ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก

การขยายพันธุ์ของเอื้องหมายนา

ใช้เมล็ดและหน่อเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่เอื้องหมายนาต้องการ

ประโยชน์ของเอื้องหมายนา

  • หน่ออ่อนที่งอกจากต้นในฤดูฝนใช้เป็นอาหารได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อขจัดกลิ่น เมื่อนำมาต้ม หรือลวก ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
  • นิยมตัดประดับแจกันทั้งต้นที่มีช่อดอก เนื่องจากมีความสวยงามทั้งต้นและกาบประดับ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
  • ดอก ใบและเหง้ามาบดให้ละเอียดผสมน้ำแล้วนำไปลาดเทลงแปลงนาที่มีการระบาดของหอยเชอรี่จะได้ผลดี เนื่องจากเอื้องหมายนามีสาร แทนนิน ทำให้หอยตายได้ ไข่ฝ่อ
ดอกเอื้องหมายนา
ดอกเอื้องหมายนา ดอกสีขาว ออกที่ปลายยอด

สรรพคุณทางยาของเอื้องหมายนา

  • เหง้าสด – มีรสฉุน เย็นจัด สามารถใช้ตำพอกบริเวณสะดือ รักษาโรคท้องมาน ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง และฆ่าพยาธิ น้ำคั้นจากหัวสดใช้เป็นยาขับลม ใช้เป็นยาแก้วิงเวียน เหง้ากินกับหมากแก้ไอ
  • ราก – เป็นยาขม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง
  • ใบ – แก้ไข้ น้ำคั้นจากใบและยอดอ่อนใช้รักษาโรคตาและหู น้ำต้มใบและใบขยี้ละเอียดใช้ทาภายนอก รักษาโรคผิวหนังและลดไข้

องค์ประกอบทางเคมี
เหง้ามีสาร diosgenin เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์หลายชนิด

คุณค่าทางโภชนาการของเอื้องหมายนา

การแปรรูปของเอื้องหมายนา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12229&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment